Table of Contents Table of Contents
Previous Page  203 / 367 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 203 / 367 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

๒. ทักษะการวัด โดยใช้ช้อนตวงวัดปริมาณ

ของแข็ง กระบอกตวงวัดปริมาตรของเหลว

และใช้เทอร์มอมิเตอร์วัดอุณหภูมิของสาร

๓. ทักษะการจำ �แนกประ เภท โดยระบุ

ตัวทำ�ละลายและตัวละลาย โดยใช้สถานะ

และปริมาณของสารในสารละลายเป็นเกณฑ์

๔. ทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย

ข้อมูล โดยการนำ�ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต

ชนิด สถานะ และปริมาณของสารที่เป็น

องค์ประกอบในสารละลาย การเปลี่ยนแปลง

ที่เกิดขึ้นเมื่อเติมตัวละลายลงในตัวทำ�ละลาย

ที่มีปริมาณคงที่ ณ อุณหภูมิหนึ่ง ๆ และ

การเปลี่ยนแปลงของชนิดตัวละลาย ชนิด

ตัวทำ�ละลาย อุณหภูมิ และความดันที่มีต่อ

สภาพละลายได้ มานำ�เสนอในรูปแบบต่างๆ

๕. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล โดย

การนำ�ข้อมูลจากการสืบค้นและการสังเกต

ชนิด สถานะและปริมาณของสารที่เป็น

องค์ประกอบในสารละลาย มาอธิบายเกณฑ์

ในการระบุตัวทำ�ละลายและตัวละลาย ชนิด

ตัวทำ�ละลาย อุณหภูมิ และความดันที่มี

ต่อสภาพละลายได้ มาอธิบายผลของชนิด

ตัวละลาย ชนิดตัวทำ�ละลาย และอุณหภูมิ

ที่มีต่อสภาพละลายได้ของสาร

๑๔. ครูรวบรวมหลักฐานเชิงประจักษ์ของทั้งชั้นและใช้คำ�ถามให้นักเรียน

ร่วมกันอภิปรายและลงข้อสรุปว่า

- สารชนิดหนึ่ง ๆ มีสภาพละลายได้แตกต่างกันในตัวทำ�ละลาย

ที่แตกต่างกัน และสารต่างชนิดกันมีสภาพละลายได้ใน

ตัวทำ�ละลายหนึ่ง ๆ ไม่เท่ากัน

- เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น สภาพละลายได้ของสารส่วนมากจะเพิ่มขึ้น

ยกเว้นแก๊สเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นสภาพละลายได้จะลดลง

๑๕. ครูใช้คำ�ถามและกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับปัจจัยของ

ความดันที่มีผลต่อสภาพละลายได้ของสาร

๑๖. ครูใช้สื่อหรือกิจกรรมสาธิต ให้นักเรียนสังเกตการเปลี่ยนแปลง

ของสา รละลาย เ มื่อคว ามดัน เ ปลี่ยน เ ช่น กา รละลายของ

แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำ�อัดลม เพื่อนำ�การอภิปราย ผลของ

ความดันที่มีต่อสภาพละลายได้ของสาร เพื่อลงข้อสรุปว่าความดันมีผล

ต่อแก๊ส โดยเมื่อความดันสูงขึ้น สภาพละลายได้ของแก๊สจะมากขึ้น

๑๗. ครูใช้คำ�ถามให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายปัจจัยทั้งหมดที่มีผลต่อสภาพ

ละลายได้ของสารเพื่อลงข้อสรุปว่า สภาพละลายได้ของสารขึ้นอยู่กับ

ชนิดของตัวทำ�ละลาย ชนิดตัวละลาย อุณหภูมิ และความดันซึ่งมีผลต่อ

สภาพละลายได้ของแก๊สเท่านั้น

๑๘. ครูกำ�หนดสถานการณ์ปัญหา ให้นักเรียนอภิปรายในกลุ่มเพื่อแก้ปัญหา

โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับการละลายในชีวิตประจำ�วัน เช่น การทำ�น้ำ�เชื่อม

ให้ละลายได้มากตามเงื่อนไขที่กำ�หนด การสกัดสีออกจากขมิ้นให้ได้สี

ปริมาณมากขึ้น และนำ�เสนอ

๑๙. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขผล

การแก้ปัญหาให้ถูกต้อง

๒. ประเมินทักษะการวัด โดยใช้ช้อนตวงวัดปริมาณ

ของแข็ง กระบอกตวงวัดปริมาตรของเหลว และใช้

เทอร์มอมิเตอร์วัดอุณหภูมิของสาร พร้อมระบุหน่วย

ของการวัดได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

๓. ประเมินทักษะการจำ�แนกประเภท จากผลการระบุ

ตัวทำ�ละลายและตัวละลาย โดยใช้สถานะและ

ปริมาณของสารในสารละลายเป็นเกณฑ์ได้ถูกต้อง

๔. ประเมินทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย

ข้อมูล จากการการนำ�ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต

ชนิด สถานะและปริมาณของสารที่เป็นองค์ประกอบ

ในสารละลาย การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อเติม

ตัวละลายลงในตัวทำ�ละลายที่มีปริมาณคงที่ ณ

อุณหภูมิหนึ่ง ๆ และการเปลี่ยนแปลงของชนิด

ตัวละลาย ชนิดตัวทำ�ละลาย อุณหภูมิ และความดัน

ที่มีต่อสภาพละลายได้ มานำ�เสนอในรูปแบบต่าง ๆ

อย่างถูกต้องและเหมาะสม ช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจ

ความหมายของข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ชัดเจน

๕. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล จาก

การนำ�ข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นและ การสังเกตมา

อธิบายเกณฑ์ในการระบุตัวทำ�ละลายและตัวละลาย

อธิบายสารละลายอิ่มตัวและผลของชนิดตัวละลาย

ชนิดตัวทำ�ละลาย และอุณหภูมิ ที่มีต่อสภาพละลาย

ได้ของสารได้อย่างสมเหตุสมผล

193

วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒