Table of Contents Table of Contents
Previous Page  206 / 367 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 206 / 367 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด

๕. ระบุปริมาณตัวละลายในสารละลายในหน่วยความเข้มข้นเป็นร้อยละ ปริมาตรต่อปริมาตร มวลต่อมวล และมวลต่อปริมาตร

๖. ตระหนักถึงความสำ�คัญของการนำ�ความรู้เรื่องความเข้มข้นของสารไปใช้ โดยยกตัวอย่างการใช้สารละลายในชีวิตประจำ�วันอย่างถูกต้องและปลอดภัย

ด้านความรู้

๑. ความเข้มข้นของสารละลาย เป็นการระบุ

ปริมาณตัวละลายในสารละลาย หน่วยความ

เข้มข้นมีหลายหน่วย ที่นิยมระบุหน่วยเป็น

ร้อยละโดยปริมาตรต่อปริมาตร โดยมวล

ต่อมวล และโดยมวลต่อปริมาตร

๒. ร้อยละโดยปริมาตรต่อปริมาตร เป็นการระบุ

ปริมาตรตัวละลายในสารละลาย ๑๐๐ หน่วย

ปริมาตรเดียวกัน นิยมใช้กับสารละลาย

ที่ตัวละลายและตัวทำ�ละลายมีสถานะ

ของเหลวหรือแก๊สเหมือนกัน

๓. ร้อยละโดยมวลต่อมวล เป็นการระบุมวล

ตัวละลายในสารละลาย ๑๐๐ หน่วยมวล

เดียวกัน นิยมใช้กับสารละลายที่มีสถานะ

เป็นของแข็ง

๔. ร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร เป็นการระบุ

มวลตัวละลายในสารละลาย ๑๐๐ หน่วย

ปริมาตร นิยมใช้กับสารละลายที่มีตัวละลาย

เป็นของแข็ง ในตัวทำ�ละลายที่เป็นของเหลว

๑. ครูสำ�รวจและทบทวนความรู้พื้นฐานของนักเรียนเรื่ององค์ประกอบ

สารละลายโดยใช้คำ�ถาม และกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้ง

คำ�ถามเกี่ยวกับการระบุปริมาณตัวละลายในสารละลาย เพื่อนำ�ไปสู่การ

ปฏิบัติกิจกรรม

๒. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม โดยสังเกตการละลายของสารและวิธีระบุปริมาณ

ตัวละลายในสารละลายในหน่วยร้อยละ ดังนี้

๑. การละลายของของเหลวในน้ำ� เช่น ละลายกลีเซอรอลในน้ำ� และวัด

ปริมาตรกลีเซอรอลกับปริมาตรสารละลาย คำ�นวณปริมาตรกลีเซอรอลต่อ

ปริมาตรสารละลาย ๑๐๐ หน่วยปริมาตรเดียวกัน บันทึกผล และสรุปผล

๒. การละลายของของแข็งในน้ำ� เช่น ละลายคอปเปอร ์(II) ซัลเฟต (CuSO

4

)

ในน้ำ� โดยชั่งมวลคอปเปอร์ (II) ซัลเฟต และวัดปริมาตรสารละลาย คำ�นวณ

มวลคอปเปอร์ (II) ซัลเฟต ต่อปริมาตรสารละลาย ๑๐๐ หน่วยปริมาตร

บันทึกผล และสรุปผล

๓. นักเรียนนำ�เสนอผลการทำ�กิจกรรม ครูรวบรวมข้อมูลของนักเรียนทั้ง

ชั้นและใช้คำ�ถามให้นักเรียนอภิปรายเพื่อลงข้อสรุปว่า กลีเซอรอลและ

คอปเปอร์ (II) ซัลเฟตละลายในน้ำ�ได้ การระบุปริมาตรกลีเซอรอลใน

ปริมาตรสารละลาย ๑๐๐ หน่วยปริมาตรเดียวกัน เป็นการระบุความเข้มข้น

ของสารละลายในหน่วยร้อยละโดยปริมาตรต่อปริมาตร การระบุมวล

คอปเปอร์ (II) ซัลเฟต ในปริมาตรสารละลาย ๑๐๐ หน่วยปริมาตร เป็นการ

ระบุความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร

ด้านความรู้

อธิบายความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยร้อยละโดย

ปริมาตรต่อปริมาตร ร้อยละโดยมวลต่อมวล และร้อยละ

โดยมวลต่อปริมาตร

196