การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
๔. ครูใช้คำ�ถามเพื่ออภิปรายและให้ความรู้เพิ่มเติมว่า ความเข้มข้นของ
สารละลายเป็นการระบุปริมาณตัวละลายในสารละลาย โดยหน่วย
ความเข้มข้นมีหลายหน่วย ที่นิยมระบุเป็นหน่วย ร้อยละโดยปริมาตร
ต่อปริมาตรร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร และร้อยละโดยมวลต่อมวล
ร้อยละโดยปริมาตรต่อปริมาตร เป็นการระบุปริมาตรตัวละลายใน
สารละลาย ๑๐๐ หน่วยปริมาตรเดียวกัน นิยมใช้กับสารละลายที่ตัวละลาย
และตัวทำ�ละลายมีสถานะของเหลวหรือแก๊สเหมือนกัน เช่น อากาศมี
แก๊สออกซิเจนร้อยละ ๒๑ โดยปริมาตรต่อปริมาตร
ร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร เป็นการระบุมวลตัวละลายในสารละลาย
๑๐๐ หน่วยปริมาตร นิยมใช้กับสารละลายที่มีตัวละลายเป็นของแข็ง ใน
ตัวทำ�ละลายที่เป็นของเหลว เช่น สารละลายน้ำ�ตาลร้อยละ ๑๐ โดยมวล
ต่อปริมาตร
๕. ครูใช้คำ�ถามให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพิ่มเติมเกี่ยวกับหน่วย
ความเข้มข้นร้อยละโดยมวลต่อมวล โดยใช้ตัวอย่างสารละลาย เช่น
นาก เหล็กไร้สนิม เพื่อลงข้อสรุปว่า หน่วยความเข้มข้นร้อยละโดยมวล
ต่อมวลเป็นการระบุมวลตัวละลายในสารละลาย ๑๐๐ หน่วยมวลเดียวกัน
นิยมใช้กับสารละลายที่มีตัวละลายเป็นของแข็งในตัวทำ�ละลายที่
เป็นของแข็ง
๖. ครูกำ�หนดสถานการณ์ต่าง ๆ ให้นักเรียนคำ�นวณเกี่ยวกับความเข้มข้น
ของสารละลายในหน่วยร้อยละโดยปริมาตรต่อปริมาตร ร้อยละโดยมวล
ต่อปริมาตร และร้อยละโดยมวลต่อมวล และนำ�เสนอ จากนั้นครูและ
นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อตรวจสอบผลการนำ�เสนอ ปรับปรุงแก้ไข
ให้ถูกต้อง
๕. การใช้สารละลายในชีวิตประจำ�วัน ควร
พิจารณาจากความเข้มข้นของสารละลาย
ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการใช้งาน และ
ผลกระทบต่อสิ่งชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ทักษะการใช้จำ�นวน โดยคำ�นวณเกี่ยวกับ
ความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยร้อยละ
โดยปริมาตรต่อปริมาตร ร้อยละโดยมวลต่อ
ปริมาตร และร้อยละโดยมวลต่อมวล
๒. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล โดยใช้
ข้อมูลจากการสำ�รวจและการสืบค้นข้อมูล
มาอธิบายแนวทางการใช้สารละลายในชีวิต
ประจำ�วัน
๓. ทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย
ข้อมูล โดยนำ�ข้อมูลที่ได้จากการคำ�นวณ
การสำ�รวจและการสืบค้นเกี่ยวกับหน่วย
ความเข้มข้นของสารละลาย และการเลือก
ใช้สารละลายในชีวิตประจำ�วันมานำ�เสนอใน
รูปแบบต่าง ๆ
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ประเมินทักษะการใช้จำ�นวน โดยคำ�นวณเกี่ยวกับ
ความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยร้อยละโดย
ปริมาตรต่อปริมาตร ร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร
และร้อยละโดยมวลต่อมวลได้อย่างถูกต้อง
๒. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล จากการ
อธิบายแนวทางการใช้สารละลายในชีวิตประจำ�วัน
อย่างถูกต้องและปลอดภัย
๓. ประเมินทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย
ข้อมูล จากการนำ�เสนอข้อมูลที่ได้จากการ
คำ�นวณ การสำ�รวจและการสืบค้นเกี่ยวกับหน่วย
ความเข้มข้นของสารละลาย และการเลือกใช้
สารละลายในชีวิตประจำ�วันได้อย่างถูกต้องและ
เหมาะสม ในรูปแบบต่าง ๆ ช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจ
ความหมายของข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและชัดเจน
197
วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒