การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
๒. ความดันของของเหลวมีความสัมพันธ์กับ
ความลึกจากระดับผิวหน้าของของเหลว
โดยบริเวณที่ลึกลงไปจากระดับผิวหน้าของ
ของเหลวมากขึ้น ความดันของของเหลวจะ
เพิ่มขึ้น
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ทักษะการสังเกต โดยสังเกตทิศทางของแรง
ที่ของเหลวกระทำ�ต่อวัตถุ
๒. ทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย
ข้อมูล โดยการออกแบบตารางบันทึกผล
และการนำ�เสนอข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผล
ต่อความดันของของเหลวด้วยรูปแบบหรือ
วิธีการต่าง ๆ
๓. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล โดยใช้
ข้อมูลจากการสังเกตมาอธิบายว่าของเหลว
มีแรงกระทำ�ต่อวัตถุ
๔. ทักษะการตั้งสมมติฐาน โดยระบุความสัมพันธ์
ของตัวแปรต้นและตัวแปรตามในการทดลอง
เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความดันของ
ของเหลว
๕. ทักษะการกำ�หนดและควบคุมตัวแปร โดย
กำ�หนดตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปร
ควบคุมในการทดลองเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผล
ต่อความดันของของเหลว
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากการสังเกตทิศทาง
ของแรงที่ของเหลวกระทำ�ต่อวัตถุตามความเป็นจริง
โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัว
๒. ประเมินทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมายข้อมูล
จากการออกแบบตารางบันทึกผลและการนำ�เสนอ
ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความดันของของเหลว
ด้วยรูปแบบหรือวิธีการที่เข้าใจง่าย น่าสนใจ
๓. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล จากการ
ใช้ข้อมูลจากการสังเกตมาอธิบายว่าของเหลวมี
แรงกระทำ�ต่อวัตถุได้อย่างมีเหตุผล
๔. ประเมินทักษะการตั้งสมมติฐาน จากการระบุ
ความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นและตัวแปรตามใน
การทดลองศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความดันของ
ของเหลวได้อย่างเหมาะสม
๕. ประเมินทักษะการกำ�หนดและควบคุมตัวแปร จาก
การกำ�หนดตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปร
ควบคุมในการทดลองศึกษาเพื่อปัจจัยที่มีผลต่อ
ความดันของของเหลวได้ครบถ้วน ถูกต้อง
๓. นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อลงข้อสรุปว่า
ของเหลวมีแรงกระทำ�ต่อผิววัตถุ ทุกบริเวณที่สัมผัสกับของเหลว โดยมี
ทิศทางตั้งฉากกับผิววัตถุ
๔. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการเขียนแผนภาพแสดงทิศทาง
ของแรงที่ของเหลวกระทำ�ต่อวัตถุ พร้อมทั้งยกตัวอย่างสถานการณ์ใน
ชีวิตประจำ�วันที่เกี่ยวข้องกับแรงที่ของเหลวกระทำ�ต่อวัตถุ
๕. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้เรื่องแรงที่ของเหลวกระทำ�ต่อ
วัตถุกับความรู้เรื่องแรงที่อากาศกระทำ�ต่อวัตถุเพื่ออภิปรายและสรุปว่า
แรงที่ของเหลวกระทำ�ตั้งฉากกับผิววัตถุต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ เรียกว่า
ความดันของของเหลว มีหน่วยเป็นนิวตันต่อตารางเมตร
๖. นักเรียนตั้งคำ�ถามเพิ่มเติมเพื่อนำ�ไปสู่การออกแบบการทดลองเกี่ยวกับ
ปัจจัยที่มีผลต่อความดันของของเหลว
๗. นักเรียนออกแบบการทดลองเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความดันของ
ของเหลว ระบุตัวแปร และสมมติฐานในการทดลอง ออกแบบตาราง
การบันทึกผลการทดลอง
๘. นักเรียนปฏิบัติการทดลองตามที่ได้ออกแบบไว้ เพื่อตรวจสอบสมมติฐาน
สังเกตและบันทึกผลลงในตารางวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูล
แปลความหมายข้อมูล สรุปผลการทดลอง และนำ�เสนอ
๙. นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อลงข้อสรุปว่า
ความดันของของเหลวมีความสัมพันธ์กับระดับความลึกจากผิวหน้าของ
ของเหลว โดยความดันของของเหลวจะมีค่ามากขึ้นเมื่อความลึกจากระดับ
ผิวหน้าของของเหลวมากขึ้น
๑๐. ครูกระตุ้นให้นักเรียนสงสัยและตั้งคำ�ถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลของความดัน
ของของเหลวที่เปลี่ยนแปลงตามความลึกจากระดับผิวหน้าของของเหลว
ที่มีต่อวัตถุในสถานการณ์ต่างๆ และแนวทางแก้ไข เพื่อนำ�ไปสู่การสืบค้น
ข้อมูล
203
วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒