การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ตัวชี้วัด
๑๐. วิเคราะห์แรงพยุงและการจม การลอยของวัตถุในของเหลวจากหลักฐานเชิงประจักษ์
๑๑. เขียนแผนภาพแสดงแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุในของเหลว
ด้านความรู้
๑. เมื่อวัตถุอยู่ในของเหลว จะมีแรงพยุงซึ่งเป็น
แรงลัพธ์ของแรงที่ของเหลวกระทำ�ต่อวัตถุ
มีทิศทางขึ้นในแนวดิ่ง
๒. การจมหรือการลอยของวัตถุขึ้นกับน้ำ�หนัก
ของวัตถุและแรงพยุง ถ้าน้ำ�หนักของวัตถุ
และแรงพยุงของของเหลวมีค่าเท่ากัน วัตถุ
จะลอยนิ่งอยู่ในของเหลว แต่ถ้าน้ำ�หนัก
ของวัตถุมีค่ามากกว่าแรงพยุงของของเหลว
วัตถุจะจม
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ทักษะการสังเกต โดยสังเกตผลของแรงพยุง
ที่กระทำ�ต่อวัตถุ
๒. ทักษะการวัด โดยใช้เครื่องชั่งสปริงวัดค่าของ
แรง เมื่อชั่งวัตถุในอากาศและในของเหลว
๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับแรงพยุงที่
ของเหลวกระทำ�ต่อวัตถุ โดยอาจใช้วิธีซักถามถึงประสบการณ์เดิม
การสาธิต หรือใช้สื่อต่าง ๆ เช่น รูป ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์ เพื่อนำ�ไปสู่
การทำ�กิจกรรมเกี่ยวกับแรงพยุงของของเหลว
๒. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมโดยการใช้เครื่องชั่งสปริงวัดและเปรียบเทียบแรงที่
กระทำ�ต่อวัตถุเมื่อวัตถุอยู่ในอากาศและในของเหลว บันทึกผล สรุป และ
นำ�เสนอ
๓. นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อลงข้อสรุปว่าเมื่อ
วัตถุอยู่ในของเหลว จะมีแรงพยุงของของเหลวกระทำ�ต่อวัตถุในทิศทาง
ขึ้นในแนวดิ่ง โดยมีขนาดเท่ากับผลต่างของค่าที่อ่านได้จากเครื่องชั่งสปริง
เมื่อชั่งในอากาศและชั่งในของเหลว
๔. นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ขนาดและทิศทางแรงที่ของเหลวกระทำ�ต่อผิว
วัตถุที่สัมผัสของเหลวเพื่อลงข้อสรุปว่าแรงพยุงเป็นแรงลัพธ์ของแรงที่
ของเหลวกระทำ�ต่อวัตถุ และมีทิศทางขึ้นในแนวดิ่ง
๕. นักเรียนเขียนแผนภาพแสดงแรงพยุงและน้ำ�หนักของวัตถุที่อยู่ใน
ของเหลว และนำ�เสนอ
๖. นักเรียนตั้งคำ�ถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจมและการลอยของวัตถุใน
ของเหลว เพื่อนำ�ไปสู่การวิเคราะห์แรงที่กระทำ�ต่อวัตถุเมื่อวัตถุอยู่ใน
ของเหลว
ด้านความรู้
๑. อธิบายแรงพยุงของของเหลวที่กระทำ�ต่อวัตถุ
๒. ระบุการจมหรือการลอยของวัตถุในสถานการณ์ต่างๆ
โดยพิจารณาจากน้ำ�หนักของวัตถุและแรงพยุง
๓. เขียนแผนภาพแสดงแรงพยุงของของเหลวและน้ำ�
หนักของวัตถุที่ทำ�ให้วัตถุจมหรือลอย
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากการสังเกตผลของแรง
พยุงที่กระทำ�ต่อวัตถุตามความเป็นจริง โดยไม่เพิ่ม
ความคิดเห็นส่วนตัว
๒. ประเมินทักษะการวัด จากการใช้เครื่องชั่งสปริงวัด
ค่าของแรง เมื่อชั่งวัตถุในอากาศและในของเหลว
อย่างถูกวิธีพร้อมระบุหน่วยของการวัดได้อย่าง
ถูกต้องและเหมาะสม
206