ตัวชี้วัด
๑๓. ออกแบบการทดลองและทดลองด้วยวิธีที่เหมาะสมในการอธิบายปัจจัยที่มีผลต่อขนาดของแรงเสียดทาน
๑๔. เขียนแผนภาพแสดงแรงเสียดทานและแรงอื่นๆ ที่กระทำ�ต่อวัตถุ
๑๕. ตระหนักถึงประโยชน์ของความรู้เรื่องแรงเสียดทานโดยวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาและเสนอแนะวิธีการลดหรือเพิ่มแรงเสียดทาน
ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำ�กิจกรรมในชีวิตประจำ�วัน
การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ด้านความรู้
๑. ขนาดของแรงเสียดทานระหว่างผิวสัมผัส
ของวัตถุขึ้นกับลักษณะผิวสัมผัสและขนาด
ของแรงปฏิกิริยาตั้งฉากระหว่างผิวสัมผัส
๒. ความรู้เรื่องแรงเสียดทานสามารถนำ�ไปใช้
ประโยชน์ในชีวิตประจำ�วันได้ บางกิจกรรม
ต้องการแรงเสียดทาน เช่น การเปิดฝา
เกลียวขวดน้ำ� การใช้แผ่นกันลื่นในห้องน้ำ�
บางกิจกรรมไม่ต้องการแรงเสียดทาน เช่น
การลากวัตถุบนพื้น การใช้น้ำ�มันหล่อลื่นใน
เครื่องยนต์
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ทักษะการสังเกต โดยสังเกตลักษณะผิวสัมผัส
และผลของแรงเสียดทานที่กระทำ�ต่อวัตถุ
ด้านความรู้
๑. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของแรงเสียด
ทานระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุกับลักษณะผิวสัมผัส
และขนาดของแรงปฏิกิริยาตั้งฉากระหว่างผิวสัมผัส
๒. ยกตัวอย่างกิจกรรมที่ต้องการเพิ่มหรือลด
แรงเสียดทานในชีวิตประจำ�วัน
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากการสังเกตลักษณะ
ผิวสัมผัส และผลของแรงเสียดทานที่กระทำ�ต่อวัตถุ
ตามความเป็นจริง โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัว
๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผล
ต่อแรงเสียดทานโดยอาจใช้วิธีซักถาม การสาธิต หรือใช้สื่อต่าง ๆ เช่น
รูป ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์เพื่อนำ�ไปสู่การออกแบบการทดลองเกี่ยวกับ
ปัจจัยที่มีผลต่อขนาดของแรงเสียดทาน
๒. นักเรียนออกแบบการทดลองเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อขนาดของแรงเสียด
ทาน โดยระบุตัวแปร และสมมติฐานในการทดลอง พร้อมทั้งออกแบบ
ตารางการบันทึกผลการทดลอง
๓. นักเรียนปฏิบัติการทดลองตามวิธีการทดลองที่ออกแบบไว้เพื่อตรวจสอบ
สมมติฐาน สังเกตและบันทึกผล สรุปผลการทดลอง และนำ�เสนอ
๔. นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อลงข้อสรุปว่า
ขนาดของแรงเสียดทานระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุมีค่าขึ้นกับลักษณะ
ผิวสัมผัสและขนาดของแรงปฏิกิริยาตั้งฉากระหว่างผิวสัมผัส พร้อมกับ
เขียนแผนภาพแสดงแรงเสียดทานและแรงอื่นๆ ที่กระทำ�ต่อวัตถุประกอบ
การอภิปราย
๕. นักเรียนตั้งคำ�ถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเพิ่มหรือลดแรงเสียดทานใน
กิจกรรมต่างๆ ที่พบในชีวิตประจำ�วัน เพื่อนำ�ไปสู่การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ
กิจกรรมในชีวิตประจำ�วันที่ต้องเพิ่มและลดแรงเสียดทาน บันทึกผลและ
นำ�เสนอ
212