Table of Contents Table of Contents
Previous Page  223 / 367 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 223 / 367 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

๒. ทักษะการวัด โดยใช้เครื่องชั่งสปริงวัดขนาด

ของแรงที่ใช้ดึงวัตถุให้เคลื่อนที่และเคลื่อนที่

ด้วยความเร็วคงตัว

๓. ทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย

ข้อมูล โดยการออกแบบตารางบันทึกผลและ

การนำ�เสนอข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อ

ขนาดของแรงเสียดทานด้วยรูปแบบหรือ

วิธีการต่าง ๆ

๔. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล โดยใช้

ข้อมูลจากการสังเกต การอภิปราย การ

ทดลองและการสืบค้นมาอธิบายปัจจัยที่มี

ผลต่อขนาดของแรงเสียดทานและการเพิ่ม

และลดแรงเสียดทานในกิจกรรมต่าง ๆ ที่พบ

ในชีวิตประจำ�วัน

๕. ทักษะการตั้งสมมติฐาน โดยระบุความ

สัมพันธ์ของตัวแปรต้นและตัวแปรตามใน

การทดลองเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อขนาด

ของแรงเสียดทาน

๖. ทักษะการกำ�หนดและควบคุมตัวแปร โดย

กำ�หนดตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปร

ควบคุมในการทดลองเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผล

ต่อขนาดของแรงเสียดทาน

๗. ทักษะการทดลอง โดยออกแบบการทดลอง

ปฏิบัติการทดลอง และออกแบบตาราง

บันทึกผลการทดลองเพื่อศึกษาปัจจัยที่มี

ผลต่อขนาดของแรงเสียดทาน

๒. ประเมินทักษะการวัด จากการใช้เครื่องชั่งสปริงวัด

ขนาดของแรงที่ใช้ดึงวัตถุให้เคลื่อนที่และเคลื่อนที่

ด้วยความเร็วคงตัวอย่างถูกวิธีพร้อมระบุหน่วยของ

การวัดได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

๓. ประเมินทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย

ข้อมูล จากการออกแบบตารางบันทึกผลและการนำ�

เสนอข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อขนาดของแรง

เสียดทานด้วยรูปแบบหรือวิธีการที่เข้าใจง่าย

น่าสนใจ

๔. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล จากการใช้

ข้อมูลจากการสังเกต การอภิปราย การทดลอง

และการสืบค้นมาอธิบายปัจจัยที่มีผลต่อขนาดของ

แรงเสียดทานและการเพิ่มและลดแรงเสียดทาน

ในกิจกรรมต่าง ๆ ที่พบในชีวิตประจำ�วันได้อย่าง

มีเหตุผล

๕. ประเมินทักษะการตั้งสมมติฐาน จากการระบุ

ความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม

ในการทดลองศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อขนาดของ

แรงเสียดทานได้อย่างเหมาะสม

๖. ประเมินทักษะการกำ�หนดและควบคุมตัวแปร จาก

การกำ�หนดตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปร

ควบคุมในการทดลองศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อขนาด

ของแรงเสียดทานได้ครบถ้วน ถูกต้อง

๗. ประเมินทักษะการทดลอง จากการออกแบบการ

ทดลอง ปฏิบัติการทดลอง และออกแบบตาราง

บันทึกผลการทดลองศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อขนาด

ของแรงเสียดทานได้ครบถ้วน ถูกต้อง

๖. นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อลงข้อสรุปว่า กิจกรรมในชีวิตประจำ�วันบาง

กิจกรรรมต้องเพิ่มแรงเสียดทาน เช่น การเปิดฝาเกลียวขวดน้ำ� การใช้แผ่น

กันลื่นในห้องน้ำ� บางกิจกรรมก็ต้องลดแรงเสียดทาน เช่น การลากวัตถุ

บนพื้น การใช้น้ำ�มันหล่อลื่นในเครื่องยนต์

๗. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายปัญหาอื่นๆ ในชีวิตประจำ�วันที่เกี่ยวข้อง

กับแรงเสียดทาน จากนั้นนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนะ

วิธีการลดหรือเพิ่มแรงเสียดทานเพื่อใช้แก้ปัญหานั้นๆ และนำ�เสนอ

213

วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒