Table of Contents Table of Contents
Previous Page  226 / 367 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 226 / 367 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด

๑๖.ออกแบบการทดลองและทดลองด้วยวิธีที่เหมาะสมในการอธิบายโมเมนต์ของแรงเมื่อวัตถุอยู่ในสภาพสมดุลต่อการหมุนและคำ�นวณโดยใช้สมการ

M = Fl

ด้านความรู้

๑. เมื่อมีแรงมากระทำ�ต่อวัตถุโดยไม่ผ่าน

จุดหมุนจะเกิดโมเมนต์ของแรง ทำ�ให้วัตถุ

หมุนรอบจุดหมุนของวัตถุนั้น

๒. โมเมนต์ของแรงเป็นผลคูณของแรงที่กระทำ�

ต่อวัตถุกับระยะทางจากจุดหมุนไปตั้งฉากกับ

แนวแรง เมื่อผลรวมของโมเมนต์ของแรงมี

ค่าเป็นศูนย์ วัตถุจะอยู่ในสภาพสมดุลต่อ

การหมุน โดยโมเมนต์ของแรงทวนเข็ม

นาฬิกาจะมีขนาดเท่ากับโมเมนต์ของแรง

ตามเข็มนาฬิกา

๓. ความรู้เรื่องโมเมนต์ของแรงสามารถนำ�ไปใช้

ออกแบบและประดิษฐ์ของเล่นของใช้ได้

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการสังเกต โดยสังเกตผลของแรงที่

กระทำ�ต่อวัตถุเมื่อแนวแรงไม่ผ่านจุดหมุน

๒. ทักษะการวัด โดยใช้เครื่องชั่งสปริงวัดขนาด

ของแรงที่ใช้ดึงวัตถุ และใช้ไม้เมตรวัด

ระยะห่างจากจุดหมุนถึงแนวแรง

ด้านความรู้

๑. อธิบายโมเมนต์ของแรงเมื่อมีแรงกระทำ�ต่อวัตถุโดย

แนวแรงไม่ผ่านจุดหมุน

๒. อธิบายวิธีการคำ�นวณโมเมนต์ของแรงเมื่อวัตถุอยู่ใน

สภาพสมดุลต่อการหมุน

๓. ยกตัวอย่างของเล่นของใช้ ในชีวิตประจำ�วันที่มี

การประยุกต์ใช้หลักการโมเมนต์ของแรง

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากการสังเกตผลของ

แรงที่กระทำ�ต่อวัตถุเมื่อแนวแรงไม่ผ่านจุดหมุนตาม

ความเป็นจริง โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัว

๒. ประเมินทักษะการวัด จากการใช้เครื่องชั่งสปริง

วัดขนาดของแรงที่ใช้ดึงวัตถุและใช้ไม้เมตรวัดระยะ

ห่างจากจุดหมุนถึงแนวแรงอย่างถูกวิธีพร้อมระบุ

หน่วยของการวัดได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับผลของแรง

ที่กระทำ�ต่อวัตถุเมื่อแนวแรงไม่ผ่านจุดหมุน โดยอาจใช้วิธีซักถามถึง

ประสบการณ์เดิม การสาธิต หรือใช้สื่อต่างๆ เช่น รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว

วีดิทัศน์ เพื่อนำ�ไปสู่การทำ�กิจกรรมเกี่ยวกับโมเมนต์ของแรง

๒. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมโดยการวัดแรงที่ใช้ดึงวัตถุโดยแนวแรงไม่ผ่าน

จุดหมุนและสังเกต บันทึกข้อมูล นำ�เสนอ

๓. นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อลงข้อสรุปว่าเพื่อ

ลงข้อสรุปว่าถ้ามีแรงหนึ่งแรงกระทำ�ต่อวัตถุและแนวแรงนั้นไม่ผ่านจุดหมุน

จะเกิดโมเมนต์ของแรงทำ�ให้วัตถุเกิดการหมุน

๔. ครูให้ความรู้ เกี่ยวกับการหาค่าโมเมนต์ของแรง ซึ่งสามารถคำ�นวณ้ได้จาก

ผลคูณของขนาดของแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุ (

F

) และระยะห่างจากจุดหมุน

ไปตั้งฉากกับแนวแรง (

l

) ตามสมการ

M = Fl

โมเมนต์ของแรงมีหน่วยเป็น

นิวตัน.เมตร

๕. นักเรียนตั้งคำ�ถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับโมเมนต์ของแรงหลาย ๆ แรงที่กระทำ�

ต่อวัตถุโดยวัตถุไม่หมุน เพื่อนำ�ไปสู่การออกแบบการทดลองเพื่อศึกษา

โมเมนต์ของแรงหลายๆ แรง ที่กระทำ�ต่อวัตถุแล้ววัตถุไม่หมุน

๖. นักเรียนออกแบบการทดลอง ระบุตัวแปรและสมมติฐานในการทดลอง

ออกแบบตารางการบันทึกผลการทดลอง

๗. นักเรียนปฏิบัติการทดลองตามวิธีการทดลองที่ออกแบบไว้ สังเกต

บันทึกผล สรุปผลและนำ�เสนอ

216