Table of Contents Table of Contents
Previous Page  231 / 367 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 231 / 367 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการสังเกต โดยสังเกตผลของแรงแม่

เหล็กและแรงไฟฟ้าที่กระทำ�ต่อวัตถุที่อยู่ใน

สนามของแรง

๒. ทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย

ข้อมูล โดยการนำ�เสนอข้อมูลเกี่ยวกับแรง

แม่เหล็็ก สนามแม่เหล็ก แรง ไฟฟ้า

สนามไฟฟ้า แรงโน้มถ่วงและสนามโน้มถ่วง

๓. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล โดยใช้

ข้อมูลจากการสังเกต การอภิปราย และการ

สืบค้นข้อมูลมาอธิบายสนามแม่เหล็ก แรง

แม่เหล็็ก สนามไฟฟ้า แรงไฟฟ้า สนามโน้มถ่วง

และแรงโน้มถ่วง

๔. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

โดยทำ�ความเข้าใจข้อมูลที่บันทึกได้เพื่อลง

ข้อสรุปเกี่ยวกับสนามแม่เหล็ก แรงแม่เหล็็ก

สนามไฟฟ้า แรงไฟฟ้า สนามโน้มถ่วงและ

แรงโน้มถ่วง

๕. ทักษะสร้างแบบจำ�ลอง โดยการเขียน

แผนภาพแสดงแรงแม่เหล็ก แรงไฟฟ้า แรง

โน้มถ่วงที่กระทำ�ต่อวัตถุในสนามแม่เหล็ก

สนามไฟฟ้าและสนามโน้มถ่วง

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากการบันทึกผล

การสังเกตผลของแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุที่อยู่ในสนาม

ของแรงโดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัว

๒. ประเมินทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย

ข้อมูล จากการออกแบบตารางบันทึกผลและการ

นำ�เสนอข้อมูลเกี่ยวกับแรงแม่เหล็็ก สนามแม่เหล็ก

แร ง ไฟฟ้า สนาม ไฟฟ้า แร ง โน้มถ่ว งและ

สนามโน้มถ่วงด้วยรูปแบบหรือวิธีการที่เข้าใจง่าย

น่าสนใจ

๓. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล จากการ

ใช้ข้อมูลจากการสังเกต การสำ�รวจ การอภิปราย

และการสืบค้นมาอธิบายแรงแม่เหล็็ก สนามแม่เหล็ก

แรงไฟฟ้า สนามไฟฟ้า แรงโน้มถ่วงและสนามโน้มถ่วง

ได้อย่างมีเหตุผล

๔. ประเมินทักษะการตีความหมายข้อมูลและลง

ข้อสรุปจากการทำ�ความเข้าใจข้อมูลที่บันทึกได้

เพื่อลงข้อสรุปเกี่ยวกับแรงแม่เหล็็ก สนามแม่เหล็ก

แรงไฟฟ้า สนามไฟฟ้า แรงโน้มถ่วงและสนามโน้มถ่วง

ได้ถูกต้องและครบถ้วน

๕. ประเมินทักษะสร้างแบบจำ�ลอง จากการเขียน

แผนภาพแสดงแรงแม่เหล็ก แรงไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง

ที่กระทำ�ต่อวัตถุในสนามแม่เหล็ก สนามไฟฟ้าและ

สนามโน้มถ่วงได้อย่างถูกต้อง

๖. นักเรียนรวบรวมข้อมูลโดยอาจสังเกตหรือสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ แรงกระทำ�

ระหว่างวัตถุที่ผ่านการขัดถู ๒ ช้ิน บันทึกผล สรุปผล และนำ�เสนอ

๗. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อลงข้อสรุปว่าวัตถุที่มีประจุไฟฟ้าจะ

มีสนามไฟฟ้าอยู่โดยรอบ เมื่อนำ�วัตถุที่มีประจุไฟฟ้าอีกวัตถุหนึ่งมาไว้ใน

สนามไฟฟ้าจะมีแรงไฟฟ้ากระทำ�ต่อวัตถุนั้นโดยแรงนั้นอาจมีทิศเข้าหา

หรือออกจากวัตถุที่เป็นแหล่งของสนามไฟฟ้า จากนั้นเขียนแผนภาพแสดง

แรงไฟฟ้าที่กระทำ�ต่อวัตถุที่อยู่ในสนามไฟฟ้า

๘. นักเรียนตั้งคำ�ถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสนามโน้มถ่วงเพื่อนำ�ไปสู่การสืบค้น

ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งสนามโน้มถ่วง และทิศทางของแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุ

ที่มีมวลและอยู่ในสนามโน้มถ่วง บันทึกผลและนำ�เสนอ

๙. นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อลงข้อสรุปว่า วัตถุที่มีมวลจะมีสนามโน้มถ่วง

อยู่โดยรอบ เมื่อนำ�วัตถุที่มีมวลอีกวัตถุหนึ่งมาไว้ในสนามโน้มถ่วงจะมี

แรงโน้มถ่วงกระทำ�ต่อวัตถุนั้นโดยแรงโน้มถ่วงจะมีทิศเข้าหาวัตถุที่เป็น

แหล่งของสนามโน้มถ่วง จากนั้นเขียนแผนภาพแสดงแรงโน้มถ่วงที่กระทำ�

ต่อวัตถุที่อยู่ในสนามโน้มถ่วง

221

วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒