Table of Contents Table of Contents
Previous Page  235 / 367 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 235 / 367 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด

๒๐. อธิบายและคำ�นวณอัตราเร็วและความเร็วของการเคลื่อนที่ของวัตถุโดยใช้สมการ

v

= − และ

v

= − จากหลักฐานเชิงประจักษ์

๒๑. เขียนแผนภาพแสดงการกระจัดและความเร็ว

s

t

s

t

ด้านความรู้

๑. การเคลื่อนที่ของวัตถุเป็นการเปลี่ยน

ตำ�แหน่งของวัตถุเทียบกับตำ�แหน่งอ้างอิง

โดยมีปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่

ซึ่งมีทั้งปริมาณสเกลาร์และปริมาณเวกเตอร์

เช่น ระยะทาง การกระจัด อัตราเร็ว

ความเร็วปริมาณสเกลาร์เป็นปริมาณที่มี

ขนาด เช่น ระยะทาง อัตราเร็ว ส่วนปริมาณ

เวกเตอร์เป็นปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทาง

เช่น การกระจัด ความเร็ว

๒. เขียนแผนภาพแทนปริมาณเวกเตอร์ได้ด้วย

ลูกศร โดยความยาวของลูกศรแสดงขนาด

และหัวลูกศรแสดงทิศทางของเวกเตอร์นั้นๆ

๓. ระยะทางเป็นปริมาณสเกลาร์ โดยระยะทาง

เป็นความยาวของเส้นทางที่เคลื่อนที่ได้

มีหน่วยเป็นเมตร

๔. การกระจัดเป็นปริมาณเวกเตอร์ โดย

การกระจัดมีทิศทางชี้จากตำ�แหน่งเริ่มต้นไป

ยังตำ�แหน่งสุดท้าย และมีขนาดเท่ากับระยะ

ที่สั้นที่สุดระหว่างสองตำ�แหน่งนั้น มีหน่วย

เป็นเมตร

๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับความหมายของ

คำ�ว่า ปริมาณสเกลาร์และปริมาณเวกเตอร์ เพื่อนำ�ไปสู่การสำ�รวจ หรือ

สืบค้นข้อมูล ซึ่งควรสรุปได้ว่า ปริมาณสเกลาร์เป็นปริมาณที่มีขนาด เช่น

ระยะทาง เวลา อัตราเร็ว ส่วนปริมาณเวกเตอร์เป็นปริมาณที่มีทั้งขนาด

และทิศทาง เช่น การกระจัด ความเร็ว

๒. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับความหมายของคำ�ว่า

ระยะทางและการกระจัด เพื่อนำ�ไปสู่การสำ�รวจหรือสืบค้นข้อมูล

๓. นักเรียนสืบค้นข้อมูล บันทึกผล นำ�เสนอและอภิปรายร่วมกันซึ่งควรลง

ข้อสรุปได้ว่าระยะทางเป็นปริมาณสเกลาร์ โดยระยะทางเป็นความยาว

ของเส้นทางที่เคลื่อนที่ได้ และ การกระจัดเป็นปริมาณเวกเตอร์ โดย

การกระจัดมีทิศทางชี้จากตำ�แหน่งเริ่มต้นไปยังตำ�แหน่งสุดท้าย และมี

ขนาดเท่ากับระยะที่สั้นที่สุดระหว่างสองตำ�แหน่งนั้น

๔. ครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์ของการเคลื่อนที่เพื่อคำ�นวณ

หาระยะทางและการกระจัดของการเคลื่อนที่ พร้อมทั้งเขียนแผนภาพ

แสดงการกระจัดของการเคลื่อนที่นั้นๆ

๕. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับความหมายของ

คำ�ว่า อัตราเร็วและความเร็วที่ใช้ในชีวิตประจำ�วัน โดยอาจใช้วิธีซัก

ถามถึงประสบการณ์เดิม หรือใช้สื่อต่าง ๆ เช่น ป้ายจราจร รูปภาพ

ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์ เพื่อนำ�ไปสู่การทำ�กิจกรรมหาขนาดอัตราเร็ว

และความเร็วของวัตถุ

ด้านความรู้

๑. เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างระยะทางและ

การกระจัด

๒. อธิบายวิธีการคำ�นวณระยะทางและการกระจัด และ

วิธีเขียนแผนภาพแสดงการกระจัด

๓. เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างอัตราเร็วและ

ความเร็ว

๔. อธิบายวิธีการคำ�นวณอัตราเร็วและความเร็ว และวิธี

เขียนแผนภาพแสดงความเร็ว

225

วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒