Table of Contents Table of Contents
Previous Page  233 / 367 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 233 / 367 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด

๑๙. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของแรงแม่เหล็ก แรงไฟฟ้าและแรงโน้มถ่วงที่กระทำ�ต่อวัตถุที่อยู่ในสนามนั้นๆ กับระยะห่างจาก

แหล่งของสนามถึงวัตถุจากข้อมูลที่รวบรวมได้

ด้านความรู้

ขนาดของแรงแม่เหล็ก แรงไฟฟ้าและแรงโน้มถ่วง

ที่กระทำ�ต่อวัตถุที่อยู่ในสนามนั้น ๆ จะมีค่า

ลดลง เมื่อวัตถุอยู่ห่างจากแหล่งของสนามนั้นๆ

มากขึ้น

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย

ข้อมูล โดยการนำ�เสนอกราฟแสดงผลการ

วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของ

แรงโน้มถ่วง แรงไฟฟ้า และแรงแม่เหล็กที่

กระทำ�ต่อวัตถุที่อยู่ในสนามนั้น ๆ กับระยะ

ห่างจากแหล่งของสนามถึงวัตถุ

๒. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลง

ข้อสรุป โดยนำ�ข้อมูลจากสืบค้นข้อมูลมา

แปลความหมายเพื่ออธิบายความสัมพันธ์

ระหว่างขนาดของแรงโน้มถ่วง แรงไฟฟ้า

และแรงแม่เหล็กที่กระทำ�ต่อวัตถุที่อยู่ใน

สนามนั้น ๆ กับระยะห่างจากแหล่งของ

สนามถึงวัตถุ

ด้านความรู้

อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของแรงแม่เหล็ก

แรงไฟฟ้าและแรงโน้มถ่วงที่กระทำ�ต่อวัตถุที่อยู่ใน

สนามนั้นๆ กับระยะห่างจากแหล่งของสนามถึงวัตถุ

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย

จากการนำ�เสนอกราฟแสดงผลการวิเคราะห์ความ

สัมพันธ์ระหว่างขนาดของแรงโน้มถ่วง แรงไฟฟ้า

และแรงแม่เหล็กที่กระทำ�ต่อวัตถุที่อยู่ในสนามนั้นๆ

กับระยะห่างจากแหล่งของสนามถึงวัตถุ ได้อย่าง

ถูกต้องและเหมาะสม และช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจความ

หมายของข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ชัดเจน และถูกต้อง

๒. ประเมินทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อ

สรุป จากการนำ�ข้อมูลจากสืบค้นข้อมูลมาแปล

ความหมายเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างขนาด

ของแรงโน้มถ่วง แรงไฟฟ้า และแรงแม่เหล็กที่

กระทำ�ต่อวัตถุที่อยู่ในสนามนั้นๆ กับระยะห่างจาก

แหล่งของสนามถึงวัตถุได้อย่างถูกต้อง

๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับขนาดของ

แรงแม่เหล็ก แรงไฟฟ้าและแรงโน้มถ่วงที่กระทำ�ต่อวัตถุที่อยู่ในสนามนั้นๆ

ที่ระยะห่างจากแหล่งของสนามที่แตกต่างกัน โดยอาจใช้วิธีซักถามถึง

ประสบการณ์เดิม หรือใช้สื่อต่าง ๆ เช่น รูปภาพ เคลื่อนไหว วีดิทัศน์ เพื่อ

นำ�ไปสู่การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของแรงที่อยู่

ในสนามกับระยะห่างจากแหล่งของสนาม

๒. นักเรียนสืบค้นข้อมูล บันทึกผล จากนั้นใช้โปรแกรมแผ่นงาน

(Spreadsheet software) ในการวิเคราะห์และสร้างกราฟความสัมพันธ์

ระหว่างขนาดของแรงกับระยะห่างจากแหล่งของสนามถึงวัตถุ สรุป

พร้อมทั้งนำ�เสนอ

๓. นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อลงข้อสรุปว่า ขนาดของแรงแม่เหล็ก

แรงไฟฟ้าและแรงโน้มถ่วงที่กระทำ�ต่อวัตถุที่อยู่ในสนามนั้น ๆ จะมี

ความสัมพันธ์กับระยะห่างจากแหล่งของสนามวัตถุนั้น โดยขนาดของ

แรงแม่เหล็ก แรงไฟฟ้าและแรงโน้มถ่วงจะมีค่าลดลง เมื่อระยะห่างจาก

แหล่งของสนามนั้นๆ มากขึ้น

๔. นักเรียนสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมและอภิปรายเกี่ยวกับการนำ�ความรู้เรื่อง

แรงแม่เหล็ก แรงไฟฟ้าและแรงโน้มถ่วงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำ�วัน

เช่น การใช้แม่เหล็กทำ�รถไฟฟ้าความเร็วสูง (Mag-Lev) เครื่องฟอกอากาศ

ที่ใช้สนามไฟฟ้า น้ำ�หนักของวัตถุที่ระดับความสูงต่างๆ จากระดับน้ำ�ทะเล

223

วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒