การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับสนามแม่เหล็ก
สนามไฟฟ้า และสนามโน้มถ่วง โดยอาจใช้วิธีซักถามถึง
ประสบการณ์เดิม หรือใช้สื่อต่าง ๆ เช่น รูปภาพ เคลื่อนไหว
วีดิทัศน์ เพื่อนำ�ไปสู่การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งของสนาม
และทิศทางของแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุที่อยู่ในแต่ละสนาม
๒. นักเรียนตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับแหล่งของสนามแม่เหล็ก และทิศทาง
ของแรงแม่เหล็กที่กระทำ�ต่อวัตถุที่อยู่ในสนามแม่เหล็ก เพื่อนำ�ไป
สู่การรวบรวมข้อมูล
๓. นักเรียนรวมรวมข้อมูลโดยอาจสังเกตหรือสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ
แรงที่แม่เหล็กกระทำ�กับแม่เหล็ก บันทึกผลสรุป และ นำ�เสนอ
๔. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อลงข้อสรุปว่าวัตถุที่เป็น
แม่เหล็กจะมีสนามแม่เหล็กอยู่โดยรอบ เมื่อนำ�แม่เหล็กอีก
แท่งหนึ่งมาไว้ในสนามแม่เหล็กจะมีแรงแม่เหล็กกระทำ�ต่อ
แม่เหล็กนั้นซึ่งอาจเป็นแรงดึงดูดหรือแรงผลัก โดยแรงนั้นอาจมี
ทิศเข้าหาหรือออกจากขั้วแม่เหล็กที่เป็นแหล่งของสนามแม่เหล็ก
จากนั้นพร้อมกับเขียนแผนภาพแสดงแรงแม่เหล็กที่กระทำ�ต่อวัตถุ
ที่อยู่ในสนามแม่เหล็ก
๕. นักเรียนตั้งคำ�ถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับแหล่งของสนามไฟฟ้า
และทิศทางของแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุที่มีประจุไฟฟ้าและอยู่ใน
สนามไฟฟ้า เพื่อนำ�ไปสู่การรวบรวมข้อมูล
ด้านความรู้
๑. วัตถุที่เป็นแม่เหล็กจะมีสนามแม่เหล็กอยู่โดย
รอบ จัดเป็นแหล่งของสนามแม่เหล็ก เมื่อนำ�
แม่เหล็กอีกแท่งหนึ่งมาไว้ในสนามแม่เหล็ก
จะมีแรงแม่เหล็กกระทำ�ต่อแม่เหล็กนั้นซึ่ง
อาจเป็นแรงดึงดูดหรือแรงผลัก โดยทิศของ
แรงอาจเข้าหาหรือออกจากขั้วแม่เหล็กที่เป็น
แหล่งของสนามแม่เหล็ก
๒. วัตถุที่มีประจุไฟฟ้าจะมีสนามไฟฟ้าอยู่โดย
รอบ จัดเป็นแหล่งของสนามไฟฟ้า เมื่อนำ�
วัตถุที่มีประจุไฟฟ้าอีกวัตถุหนึ่งมาไว้ใน
สนามไฟฟ้าจะมีแรงไฟฟ้ากระทำ�ต่อวัตถุนั้น
โดยทิศของแรงอาจเข้าหาหรือออกจากวัตถุ
ที่เป็นแหล่งของสนามไฟฟ้า
๓. วัตถุที่มีมวลจะมีสนามโน้มถ่วงอยู่โดยรอบ
จัดเป็นแหล่งของสนามโน้มถ่วง เมื่อนำ�วัตถุ
ที่มีมวลอีกวัตถุหนึ่งมาไว้ในสนามโน้มถ่วงจะ
มีแรงโน้มถ่วงกระทำ�ต่อวัตถุนั้นโดยทิศของ
แรงเข้าหาวัตถุที่เป็นแหล่งของสนามโน้มถ่วง
ตัวชี้วัด
๑๗.เปรียบเทียบแหล่งของสนามแม่เหล็ก สนามไฟฟ้า และสนามโน้มถ่วง และทิศทางของแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุที่อยู่ในแต่ละสนามจากข้อมูลที่รวบรวมได้
๑๘.เขียนแผนภาพแสดงแรงแม่เหล็ก แรงไฟฟ้าและแรงโน้มถ่วงที่กระทำ�ต่อวัตถุ
ด้านความรู้
๑. ระบุแหล่งของสนามแม่เหล็ก สนามไฟฟ้า และ
สนามโน้มถ่วง
๒. เปรียบเทียบทิศทางของแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุที่อยู่ใน
แต่ละสนามโดยใช้แผนภาพแสดงแรง
220