การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ตัวชี้วัด
๑๒. อธิบายแรงเสียดทานสถิตและแรงเสียดทานจลน์จากหลักฐานเชิงประจักษ์
ด้านความรู้
๑. แรงเสียดทานเป็นแรงที่เกิดขึ้นระหว่าง
ผิวสัมผัสของวัตถุ เพื่อต้านการเคลื่อนที่ของ
วัตถุไปบนผิวสัมผัสนั้น ถ้าออกแรงกระทำ�ต่อ
วัตถุที่อยู่นิ่งบนพื้นผิวสัมผัสหนึ่งให้เคลื่อนที่
แรงเสียดทานจากผิวสัมผัสนั้นก็จะต้าน
การเคลื่อนที่ของวัตถุ และสำ�หรับวัตถุที่
กำ�ลังเคลื่อนที่ แรงเสียดทานจะทำ�ให้วัตถุนั้น
เคลื่อนที่ช้าลงหรือหยุดนิ่ง
๒. แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นในขณะที่วัตถุยังไม่
เคลื่อนที่ เรียก แรงเสียดทานสถิต โดยจะมีค่า
สูงสุดเมื่อวัตถุเริ่มเคลื่อนที่ และแรงเสียดทาน
ที่เกิดขึ้นในขณะที่วัตถุกำ�ลังเคลื่อนที่ไป
บนผิวสัมผัสนั้น เรียก แรงเสียดทานจลน์
ซึ่งจะทำ�ให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่ช้าลงหรือหยุดนิ่ง
โดยแรงเสียดทานจลน์จะมีค่าน้อยกว่า
แรงเสียดทานสถิตสูงสุด
๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับแรงเสียดทานโดย
อาจใช้วิธีซักถามถึงประสบการณ์เดิม การสาธิต หรือใช้สื่อต่าง ๆ เช่น รูป
ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์ เพื่อนำ�ไปสู่การทำ�กิจกรรมเกี่ยวกับแรงเสียดทาน
๒. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมโดยวัดแรงเสียดทานที่กระทำ�ต่อวัตถุที่อยู่นิ่งและ
แรงเสียดทานที่กระทำ�ต่อวัตถุที่กำ�ลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว บันทึก
ผล สรุป และนำ�เสนอ
๓. นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อลงข้อสรุปว่า
ถ้าออกแรงกระทำ�ต่อวัตถุที่อยู่นิ่งให้เคลื่อนที่ แต่วัตถุยังไม่เคลื่อนที่ จะมี
แรงเสียดทานต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุที่กำ�ลังจะเคลื่อนที่ไปบนผิวสัมผัส
นั้น โดยในขณะที่วัตถุยังอยู่นิ่ง แรงเสียดทานจะมีค่าเปลี่ยนแปลงไปขึ้นอยู่
กับขนาดของแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุ จนถึงค่าแรงเสียดทานสูงสุดวัตถุจะเริ่ม
เคลื่อนที่ และเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ไปบนผิวสัมผัสนั้น แรงเสียดทานที่กระทำ�
ต่อวัตถุจะมีค่าลดลง
๔. นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับแรงเสียดทานที่กระทำ�ต่อวัตถุที่อยู่นิ่งและ
วัตถุที่กำ�ลังเคลื่อนที่ บันทึกข้อมูล นำ�เสนอ และอภิปรายเพื่อลงข้อสรุป
ว่า แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นขณะที่วัตถุอยู่นิ่ง เรียกว่าแรงเสียดทานสถิต
และแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นขณะวัตถุกำ�ลังเคลื่อนที่ไปบนผิวสัมผัสนั้น
เรียกว่า แรงเสียดทานจลน์ โดยแรงเสียดทานจลน์จะมีค่าน้อยกว่า
แรงเสียดทานสถิตสูงสุด
ด้านความรู้
๑. อธิบายแรงเสียดทานสถิตและแรงเสียดทานจลน์
๒. เปรียบเทียบแรงเสียดทานสถิตและ
แรงเสียดทานจลน์
209
วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒