การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ทักษะการสังเกต โดยสังเกตการเปลี่ยนแปลง
ของสารละลายเมื่อให้ความร้อนและสิ่งที่
เหลือจากการระเหย บันทึกสิ่งที่สังเกตได้
๒. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล โดยใช้
ข้อมูลจากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของ
สารละลายเมื่อได้รับความร้อนมาอธิบาย
เกี่ยวกับการแยกสารโดยการระเหยแห้ง
ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑
๑. ทักษะด้านความร่วมมือและการทำ�งาน
เป็นทีม โดยร่วมกันสังเกตและอภิปราย เพื่อ
สรุปหลักการแยกสารโดยการระเหยแห้ง
๒. ทักษะด้านการสื่อสาร โดยนำ�เสนอผลการ
ทำ�กิจกรรมและร่วมกันอภิปรายในชั้นเรียน
เกี่ยวกับการแยกสารโดยการระเหยแห้ง
๓. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ความร้อนกับสารละลายที่กำ�หนด เช่น
น้ำ�เกลือ สารละลายโซเดียมคาร์บอเนต จนกระทั่งของเหลวระเหยหมด
สังเกตการเปลี่ยนแปลงของสารละลายและสิ่งที่เหลือจากการระเหย
บันทึกผล วิเคราะห์ สรุปผล และนำ�เสนอ
๔. ครูใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ โดยรวบรวมข้อมูลทั้งชั้นเรียนและใช้คำ�ถาม
เพื่อให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย และลงข้อสรุปว่า เมื่อให้ความร้อนกับ
สารละลาย ของเหลวที่อยู่ในสารละลายจะกลายเป็นไอจนหมดเหลือแต่
ของแข็ง และครูอธิบายเพิ่มเติมว่า การแยกสารที่มีของแข็งละลายอยู่
ในตัวทำ�ละลายที่เป็นของเหลว โดยให้ความร้อนกับสารละลาย เพื่อให้
ตัวทำ�ละลายที่เป็นของเหลวกลายเป็นไอไปจนหมด เหลือเพียงตัวละลาย
ที่เป็นของแข็ง เรียกวิธีการแยกสารนี้ว่า การระเหยแห้ง
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากผลการบันทึกการ
สังเกตเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสารละลาย
เมื่อให้ความร้อนและสิ่งที่เหลือจากการระเหยได้
ครบถ้วน ตามความเป็นจริงโดยไม่เพิ่มความคิดเห็น
ส่วนตัว
๒. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูลจากการ
สังเกตการเปลี่ยนแปลงของสารละลายเมื่อได้รับ
ความร้อนมาอธิบายการแยกสารโดยการระเหยแห้ง
ได้อย่างสมเหตุสมผล
ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑
๑. ประเมินทักษะด้านความร่วมมือและการทำ�งาน
เป็นทีม จากการร่วมกันสังเกตและอภิปราย เพื่อ
สรุปหลักการแยกสารโดยการระเหยแห้ง ตั้งแต่
เริ่มต้นจนสำ�เร็จลุล่วง
๒. ประเมินทักษะด้านการสื่อสาร จากการนำ�เสนอ
ผลการทำ�กิจกรรมและร่วมกันอภิปรายในชั้นเรียน
เกี่ยวกับการแยกสารโดยการระเหยแห้ง เพื่อให้ผู้อื่น
เข้าใจได้อย่างรวดเร็ว ชัดเจน และถูกต้อง
179
วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒