Table of Contents Table of Contents
Previous Page  280 / 367 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 280 / 367 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด

๒. อธิบายรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตรูปแบบต่าง ๆ ในแหล่งที่อยู่เดียวกัน ที่ได้จากการสำ�รวจ

ด้านความรู้

๑. กลุ่มสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วยประชากรของ

สิ่งมีชีวิตหลาย ๆ ชนิด อาศัยอยู่ร่วมกันใน

แหล่งที่อยู่เดียวกัน

๒. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต ๒ ชนิดที่

อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่เดียวกัน อาจมีหลาย

รูปแบบ ได้แก่ ภาวะพึ่งพากัน ภาวะอิงอาศัย

ภาวะปรสิต การล่าเหยื่อ

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการสังเกต โดยการสังเกตชนิด จำ�นวน

ของสิ่งมีชีวิต และพฤติกรรมที่แสดงถึง

ความสัมพันธ์กันของสิ่งมีชีวิต

๒. ทักษะการจำ�แนกประเภท โดยการจัดกลุ่ม

สิ่งมีชีวิตตามความสัมพันธ์ที่มีรูปแบบ

คล้ายคลึงกันไว้ด้วยกัน

๓. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล โดย

นำ �ข้อมูลที่ได้จากการสัง เ กตสิ่งมีชีวิต

มาเชื่อมโยง เพื่ออธิบายเกี่ยวกับรูปแบบ

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่อยู่ด้วยกัน

๑. ครูสนทนากับนักเรียน โดยอาจใช้สื่อต่าง ๆ เช่น ภาพ คลิปวีดิทัศน์

เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตหลาย ๆ ชนิดในแหล่งที่อยู่ เพื่อให้นักเรียนนิยาม

ความหมายของกลุ่มสิ่งมีชีวิตและประชากร ซึ่งนักเรียนควรนิยาม

ความหมายของกลุ่มสิ่งมีชีวิตได้ว่า กลุ่มสิ่งมีชีวิต หมายถึง ประชากรของ

สิ่งมีชีวิตหลาย ๆ ชนิด ที่อาศัยอยู่ร่วมกันในแหล่งที่อยู่เดียวกัน ส่วน

ประชากร หมายถึง สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันที่อาศัยอยู่ร่วมกันในแหล่งที่อยู่

เดียวกันในช่วงเวลาเดียวกัน

๒. ครูกระตุ้นให้นักเรียนสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของ

สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ เพื่อนำ�ไปสู่การสำ�รวจกลุ่มสิ่งมีชีวิต

ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่ดำ�รงชีวิตอยู่ร่วมกันในแหล่งที่อยู่ รวบรวม

ข้อมูล บันทึกผล

๓. นักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตใน

ลักษณะต่าง ๆ เช่น แมลงตอมเกสรดอกไม้ กล้วยไม้อาศัยอยู่กับต้นไม้

แมวกินหนู แล้วจัดกลุ่มความสัมพันธ์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันไว้ด้วยกัน

ซึ่งนักเรียนควรได้ความสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น

- ทั้งสองฝ่ายได้ประโยชน์ (เรียกว่า ภาวะพึ่งพากัน)

- ฝ่ายหนึ่งได้รับประโยชน์ แต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้และไม่เสียประโยชน์

(เรียกว่า ภาวะอิงอาศัย)

- ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ แต่อีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ (มี ๒ รูปแบบ

ได้แก่ ภาวะปรสิต และการล่าเหยื่อ ซึ่งรูปแบบทั้งสองมีลักษณะ

แตกต่างกัน)

ด้านความรู้

๑. นิยามความหมายของกลุ่มสิ่งมีชีวิต ประชากร

๒. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในรูปแบบ

ภาวะพึ่งพากัน ภาวะอิงอาศัย ภาวะปรสิต และ

การล่าเหยื่อ

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากผลการบันทึก

รายละเอียดต่าง ๆ เช่น ชนิด จำ�นวนของสิ่งมีชีวิต

พฤติกรรมที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตใน

แหล่งที่อยู่ ได้ครบถ้วนตามความเป็นจริง โดยไม่เพิ่ม

ความคิดเห็นส่วนตัว

๒. ประเมินทักษะการจำ�แนกประเภท จากการจำ�แนก

ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่มีรูปแบบเดียวกัน

ไว้ด้วยกัน ได้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำ�หนด

270