การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ตัวชี้วัด
๕. อธิบายการสะสมสารพิษในสิ่งมีชีวิตในโซ่อาหาร
๖. ตระหนักถึงความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศ โดยไม่ทำ�ลายสมดุลของระบบนิเวศ
ด้านความรู้
การถ่ายทอดพลังงานไปตามลำ�ดับขั้นการบริโภค
ในโซ่อาหาร ถ้ามีการสะสมสารพิษในสิ่งมีชีวิต
เริ่มต้นของโซ่อาหาร สารพิษนี้จะถูกถ่ายทอดไป
ยังผู้บริโภคลำ�ดับต่างๆ ตามลำ�ดับขั้นการบริโภค
ผู้บริโภคลำ�ดับสูงสุด จะมีปริมาณสารพิษสะสม
มากที่สุด ดังนั้นการดูแลรักษาระบบนิเวศให้เกิด
ความสมดุลและคงอยู่ตลอดไปจึงเป็นสิ่งสำ�คัญ
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
โดยการแปลความหมายข้อมูลจากแผนภาพและ
ลงข้อสรุปเกี่ยวกับการสะสมสารพิษในโซ่อาหาร
๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้นต่อสิ่งมีชีวิตจาก
การที่มนุษย์ทิ้งสารเคมีที่เป็นพิษต่าง ๆ สู่สิ่งแวดล้อม โดยใช้สื่อต่าง ๆ
เช่น ภาพ วีดิทัศน์
๒. นักเรียนตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับการสะสมสารพิษจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค
ลำ�ดับต่าง ๆ เพื่อนำ�ไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนภาพแสดงการสะสม
สารพิษในโซ่อาหาร
๓. นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ปริมาณความเข้มข้นของสารพิษ เช่น ดีดีที
สารปรอท ที่สะสมจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคลำ�ดับต่าง ๆ และร่วมกัน
อภิปราย โดยใช้ข้อมูลจากแผนภาพ เพื่อลงข้อสรุปว่า สารพิษที่สะสมอยู่
ในผู้ผลิตจะถ่ายทอดไปตามโซ่อาหารตามลำ�ดับขั้นของการบริโภค และ
มีปริมาณมากขึ้นตามลำ�ดับขั้นของการบริโภค ผู้บริโภคที่อยู่ลำ�ดับสูงสุด
(ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นมนุษย์) จะมีปริมาณสารพิษสะสมอยู่มากที่สุด
๔. ครูกระตุ้นให้นักเรียนร่วมกันคิดและอภิปรายเกี่ยวกับวิธีการดูแลรักษา
สมดุลของระบบนิเวศโดยใช้คำ�ถาม เช่น การทำ�ลายทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม เช่น ป่าไม้ ดิน แหล่งน้ำ� อากาศ และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่
เป็นองค์ประกอบของระบบนิเวศ จะเกิดผลอย่างไรต่อระบบนิเวศนั้น และ
จะมีวิธีการดูแลรักษาระบบนิเวศให้สมดุลและคงอยู่ได้อย่างไร
ด้านความรู้
อธิบายการสะสมสารพิษในสิ่งมีชีวิตในโซ่อาหาร
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ประเมินทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
โดยการแปลความหมายข้อมูลจากแผนภาพและลง
ข้อสรุปเกี่ยวกับการสะสมสารพิษในโซ่อาหาร ได้อย่าง
ถูกต้อง
274