การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ตัวชี้วัด
๗. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง ยีน ดีเอ็นเอ และโครโมโซม โดยใช้แบบจำ�ลอง
ด้านความรู้
๑. ลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตสามารถ
ถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งได้ โดยมี
ยีนเป็นหน่วยควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม
ยีน ดีเอ็นเอ และโครโมโซมมีความสัมพันธ์กัน
โดยยีนเป็นช่วงหนึ่งของดีเอ็นเอ และดีเอ็นเอ
เป็นส่วนประกอบของโครโมโซม โครโมโซม
อยู่ในนิวเคลียสของเซลล์
๒. สิ่งมีชีวิตที่มีโครโมโซม ๒ ชุด โครโมโซมที่เป็น
คู่กันมีการเรียงลำ�ดับของยีนบนโครโมโซม
เหมือนกัน เรียกว่า ฮอมอโลกัสโครโมโซม
ยีนหนึ่งที่อยู่บนคู่ฮอมอโลกัสโครโมโซมอาจ
มีรูปแบบแตกต่างกัน เรียกแต่ละรูปแบบของ
ยีนที่ต่างกันนี้ว่า แอลลีล ซึ่งการเข้าคู่กันของ
แอลลีลต่าง ๆ อาจส่งผลทำ�ให้สิ่งมีชีวิตมี
ลักษณะที่แตกต่างกันได้
๓. สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีจำ�นวนโครโมโซม
คงที่ มนุษย์มีจำ�นวนโครโมโซม ๒๓ คู่ เป็น
ออโตโซม ๒๒ คู่ และโครโมโซมเพศ ๑ คู่
เพศหญิงมีโครโมโซมเพศเป็น XX เพศชายมี
โครโมโซมเพศเป็น XY
๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับความแตกต่างของ
จำ�นวนโครโมโซมในนิวเคลียสของเซลล์ของสิ่งมีชีวิตบางชนิด โดย
ใช้ข้อมูลจำ�นวนโครโมโซมในนิวเคลียสของเซลล์ของสิ่งมีชีวิตบางชนิด
๒. นักเรียนวิเคราะห์ข้อมูลและร่วมกันอภิปรายเพื่อลงข้อสรุปว่า สิ่งมีชีวิต
แต่ละชนิดมีจำ�นวนโครโมโซมแตกต่างกัน และสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมี
จำ�นวนโครโมโซมคงที่
๓. ครูให้นักเรียนสังเกตและเปรียบเทียบลักษณะและจำ�นวนของโครโมโซม
ของเพศหญิงและเพศชาย จากแผนภาพแสดงการจัดเรียงโครโมโซมของ
มนุษย์เพศหญิงและเพศชาย และร่วมกันอภิปรายเพื่อลงข้อสรุปว่ามนุษย์
มีจำ�นวนโครโมโซม ๒๓ คู่ เป็นโครโมโซมร่างกายหรือออโตโซม ๒๒ คู่ และ
โครโมโซมเพศ ๑ คู่ เพศหญิงมีโครโมโซมเพศเป็น XX เพศชายมีโครโมโซม
เพศเป็น XY
๔. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัย และตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์
ระหว่างยีน ดีเอ็นเอ และโครโมโซม เพื่อนำ�ไปสู่การสังเกต และสืบค้น
ข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างยีน ดีเอ็นเอ และโครโมโซม
๕. นักเรียนรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและการสืบค้นข้อมูล และ
ร่วมกันสร้างแบบจำ�ลองเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างยีน ดีเอ็นเอ และ
โครโมโซม นำ�เสนอ
ด้านความรู้
อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างยีน ดีเอ็นเอ และโครโมโซม
276