การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ด้านความรู้
๑. โลกและดวงจันทร์มีแรงโน้มถ่วงซึ่งเป็น
แรงดึงดูดระหว่างกันและกัน ทำ�ให้ดวงจันทร์
โคจรรอบโลก แรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์
ต่อโลกส่งผลให้น้ำ�บนผิวโลกด้านที่หัน
เข้าหา ดวงจันทร์ถูกแรงดึงดูดเข้าไปหา
ดวงจันทร์มากกว่าตำ�แหน่งอื่น ทำ�ให้บริเวณ
ผิวโลกด้านที่อยู่ใกล้ดวงจันทร์เกิดน้ำ�ขึ้น
ในขณะเดียวกันน้ำ�บริเวณด้านตรงข้ามกับ
ผิวโลกที่อยู่ด้านไกลจากดวงจันทร์เคลื่อนที่
ได้เป็นระยะทางน้อยกว่าพื้นดินทำ�ให้เกิด
ช่องว่างที่น้ำ�ข้างเคียงไหลไปรวมกันทำ�ให้เกิด
ปรากฏการณ์น้ำ�ขึ้นด้วย ในขณะที่เกิดน้ำ�ขึ้น
บริเวณผิวโลกด้านใกล้และไกลดวงจันทร์
ก็จะเกิดน้ำ�ลงบริเวณกึ่งกลางระหว่างบริเวณ
น้ำ�ขึ้นทั้งสอง
๒. ในหนึ่งวันตำ�แหน่งของดวงจันทร์ที่โคจร
รอบโลกเคลื่อนไปหลายองศา และโลกหมุน
รอบตัวเองหนึ่งรอบในหนึ่งวัน ดังนั้นผิวโลก
บริเวณหนึ่ง ๆจึงเป็นได้ทั้งด้านใกล้และ
ด้านไกลดวงจันทร์ ในหนึ่งวัน ผิวโลกแต่ละ
บริเวณจึงเกิดน้ำ�ขึ้น ๒ ครั้งต่อวันและน้ำ�ลง
๒ ครั้งต่อวัน
ด้านความรู้
อธิบายการเกิดน้ำ�ขึ้นน้ำ�ลง
การเกิดน้ำ�ขึ้นน้ำ�ลง
๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับการเกิดน้ำ�ขึ้น
น้ำ�ลง โดยอาจใช้สถานการณ์หรือคำ�ถาม หรือสื่อต่างๆเช่นรูปภาพ วีดิทัศน์
๒. นักเรียนสืบค้นข้อมูล จัดกระทำ� วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดน้ำ�ขึ้น
น้ำ�ลง และนำ�เสนอ
๓. นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อลงข้อสรุปว่า โลกและดวงจันทร์มีแรงโน้ม
ถ่วง ระหว่างกันทำ�ให้ดวงจันทร์โคจรรอบโลก แรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์
ต่อโลกส่งผลให้น้ำ�บนผิวโลกด้านที่หันเข้าหาดวงจันทร์ถูกแรงโน้มถ่วงดึง
เข้าไปหาดวงจันทร์มากกว่าตำ�แหน่งอื่น ทำ�ให้บริเวณผิวโลกด้านที่อยู่ใกล้
ดวงจันทร์เกิดน้ำ�ขึ้น ในขณะเดียวกันน้ำ�บริเวณด้านตรงข้ามกันบนผิวโลก
ที่อยู่ด้านไกลจากดวงจันทร์เคลื่อนที่ได้เป็นระยะทางน้อยกว่าพื้นดินที่
เคลื่อนไปทางดวงจันทร์ทุกส่วนทำ�ให้เกิดช่องว่างที่น้ำ�ข้างเคียงไหลไป
รวมกันเกิดปรากฏการณ์น้ำ�ขึ้นด้วย ในขณะที่เกิดน้ำ�ขึ้นบริเวณผิวโลก
ด้านใกล้และไกลดวงจันทร์ ก็จะเกิดน้ำ�ลงบริเวณกึ่งกลางระหว่างบริเวณ
น้ำ�ขึ้นทั้งสอง
๔. ครูตั้งคำ�ถามเพื่อให้นักเรียนหาคำ�ตอบเกี่ยวกับ การเกิดน้ำ�ขึ้นน้ำ�ลง ๒ ครั้ง
ในรอบวัน จากนั้นนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ อภิปรายเพื่อลงข้อสรุปว่าใน
หนึ่งวันตำ�แหน่งของดวงจันทร์ที่โคจรรอบโลกเคลื่อนไปหลายองศา และ
โลกหมุนรอบตัวเองหนึ่งรอบในหนึ่งวัน ดังนั้นผิวโลกบริเวณหนึ่งๆจึงเป็น
ได้ทั้งด้านใกล้และด้านไกลดวงจันทร์ในหนึ่งวัน ทำ�ให้ผิวโลกแต่ละบริเวณ
เกิดน้ำ�ขึ้น ๒ ครั้งต่อวันและน้ำ�ลง ๒ ครั้งต่อวัน
๕. ครูใช้ภาพสถานการณ์จริงกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับการเกิด
น้ำ�ขึ้นสูงมากในวันข้างขึ้น ๑๕ ค่ำ�และแรม ๑๕ ค่ำ�
๖. นักเรียนสืบค้นข้อมูลระดับน้ำ�ขึ้นและลงแต่ละวันในรอบเดือน เพื่อสร้าง
กราฟความสัมพันธ์ระหว่างน้ำ�ขึ้นน้ำ�ลงกับวันข้างขึ้นข้างแรม
350