ครูให้นักเรียนศึกษารูป 13.24 เพื่อสรุปเกี่ยวกับวิลลัสและไมโครวิลลัส ซึ่งเป็นโครงสร้าง
ที่เป็นการเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึมสารอาหารในลำ�ไส้เล็ก ภายในวิลลัสมีหลอดเลือดฝอย และ
หลอดน้ำ�เหลืองฝอย ซึ่งจะรับสารอาหารที่ถูกดูดซึมผ่านเซลล์บุผิวของวิลลัส
จากนั้นครูใช้รูป 13.25 เพื่ออธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลำ�เลียงสารอาหารผ่านระบบหมุนเวียน
เลือดเข้าและออกจากตับ ก่อนจะลำ�เลียงไปยังหัวใจ โดยเน้นให้นักเรียนเห็นความสำ�คัญเกี่ยวกับหน้าที่
ของตับกับการกำ�จัดและการสะสมสารพิษที่ปนมากับอาหารเมื่อถูกดูดซึมและลำ�เลียงโดยระบบ
หมุนเวียนเลือดผ่านตับก่อนที่จะลำ�เลียงไปยังหัวใจ
ครูใช้รูป 13.26 อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลำ�เลียงกรดไขมันและกลีเซอรอลเข้าสู่หลอด
น้ำ�เหลืองฝอย โดยสารอาหารประเภทลิพิดที่ผ่านการย่อยแล้วไม่ละลายน้ำ�และมีขนาดโมเลกุลใหญ่
ไม่สามารถลำ�เลียงเข้าสู่หลอดเลือดฝอยได้ จึงถูกลำ�เลียงเข้าสู่หลอดน้ำ�เหลืองฝอย แต่สารอาหาร
ประเภทอื่นที่ผ่านการย่อยและละลายน้ำ�ได้ดีจะถูกลำ�เลียงเข้าสู่หลอดเลือดฝอย จากนั้นให้นักเรียน
ตอบคำ�ถามในหนังสือเรียน ซึ่งมีแนวคำ�ตอบดังนี้
วิตามินเอ เมื่อถูกดูดซึมเข้าสู่ไมโครวิลลัสแล้วจะมีการลำ�เลียงเข้าสู่หลอดเลือดฝอยหรือ
หลอดน้ำ�เหลืองฝอย เพราะเหตุใด
ลำ�เลียงเข้าสู่หลอดน้ำ�เหลืองฝอย เพราะวิตามินเอ เป็นวิตามินที่ละลายในลิพิดจึงถูกดูดซึม
พร้อมกับกรดไขมัน และกลีเซอรอล
ครูให้นักเรียนศึกษารูป 13.27 เพื่อสรุปเกี่ยวกับโครงสร้างและหน้าที่ของลำ�ไส้ใหญ่ และ
การถ่ายอุจจาระออกนอกร่างกาย โดยลำ�ไส้ใหญ่ประกอบด้วย ซีกัม โคลอน และไส้ตรง ซึ่งต่อกับ
ทวารหนัก ส่วนของซีกัมมีส่วนยื่นออกมาเรียกว่า ไส้ติ่ง แต่ไม่ได้ทำ�หน้าที่เกี่ยวกับการย่อยอาหาร
จากนั้นให้นักเรียนตอบคำ�ถามในหนังสือเรียน ซึ่งมีแนวคำ�ตอบดังนี้
ถ้ากากอาหารอยู่ในลำ�ไส้ใหญ่นานๆ จะเกิดผลอย่างไร
กากอาหารจะแข็ง เนื่องจากมีการดูดน้ำ�และธาตุอาหารเข้าสู่หลอดเลือดฝอยบริเวณลำ�ไส้ใหญ่
ทำ�ให้เกิดอาการท้องผูก ถ่ายอุจจาระไม่สะดวก
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 13 | ระบบย่อยอาหาร
ชีววิทยา เล่ม 4
27