Table of Contents Table of Contents
Previous Page  23 / 194 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 23 / 194 Next Page
Page Background

ผลที่ได้ในชุดเซลล์ที่ผ่านการแช่เอทิลแอลกอฮอล์เหมือนหรือต่างจากผลในข้อ 1-4

อย่างไร เพราะเหตุใด

ได้ผลต่างจากในข้อ 1-4 โดยจะย้อมติดสีทั้ง 2 ชนิด เนื่องจากแอลกอฮอล์ละลายลิพิด

ในเยื่อหุ้มเซลล์ ทำ�ให้โครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์เสียหาย สีผสมอาหารจึงสามารถ

เข้าสู่เซลล์ได้ ภายในรากแหนจึงย้อมติดสี

ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลการทดลองเพื่อลงข้อสรุปว่าเยื่อหุ้มเซลล์มีสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน

โดยยอมให้สารที่ละลายในลิพิดผ่านเข้าสู่เซลล์ได้

โครงสร้างและสมบัติของเยื่อหุ้มเซลล์ที่สัมพันธ์กับวิธีการลำ�เลียงสาร

ครูอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์ (ภาพที่ 1-3 ในหนังสือเรียน) และการลำ�เลียงสาร

แบบต่าง ๆ โดยเชื่อมโยงถึงสมบัติของโครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์ที่สัมพันธ์กับวิธีการลำ�เลียงสาร

การแพร่แบบธรรมดา

ครูอธิบายถึงการแพร่แบบธรรมดา โดยอธิบายว่าการที่โครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์ประกอบด้วย

ชั้นลิพิดนั้นทำ�ให้สารที่ละลายในลิพิดสามารถเข้าสู่เซลล์ได้ (อาจอ้างอิงถึง สีนิวทรัลเรดในกิจกรรม 1.1)

และอธิบายเพิ่มเติมว่าสารบางชนิดถึงแม้จะไม่ละลายในลิพิดแต่สามารถลำ�เลียงผ่านชั้นลิพิดที่มี

การเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาได้ถ้าสารนั้นมีขนาดเล็กพอและไม่มีประจุ เช่น แก๊สออกซิเจน ครูอาจใช้

ภาพ แอนิเมชัน หรือวีดิทัศน์ เพื่อให้เห็นถึงภาพรวมกลไกการลำ�เลียงสารโดยการแพร่แบบธรรมดา

และทิศทางการลำ�เลียงที่สัมพันธ์กับความเข้มข้นของสาร (รูป 1.4 ในหนังสือเรียน)

ออสโมซิส

ครูอธิบายเกี่ยวกับออสโมซิส โดยขยายความเพิ่มเติมจากกรณีการแพร่แบบธรรมดา ว่าโมเลกุลของ

น้ำ�มีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาและสามารถแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้เช่นกัน ซึ่งศึกษาได้จากการทดลอง

ดังรูป 1.5 ในหนังสือเรียน ครูอาจเชื่อมโยงความรู้กับสถานการณ์ในชีวิตประจำ�วัน เช่น การเก็บรักษา

พืชผักไม่ให้เหี่ยวโดยการแช่น้ำ� หรือการให้น้ำ�เกลือแก่ผู้ป่วยผ่านทางหลอดเลือด โดยน้ำ�เกลือมี

ความเข้มข้นเทียบเท่ากับความเข้มข้นของสารภายในเซลล์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 1 | การลำ�เลียงสารเข้าและออกจากเซลล์

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ

9