3. สำ�หรับสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเลือกทดสอบเฉพาะแป้ง ส่วนการทดสอบ
น้ำ�ตาลโดยใช้สารละลายเบเนดิกต์ไม่ได้ทดสอบเพื่อลดเวลาในการทำ�การทดลองแต่ให้
นักเรียนอภิปรายหลังการทดลองโดยใช้ประสบการณ์ของนักเรียนเกี่ยวกับความหวาน
ของพืชเพื่อประมาณปริมาณน้ำ�ตาลที่พืชแต่ละชนิดสร้างและสะสมไว้
4. หากมีตัวอย่างพืชที่นำ�มาทดสอบหลายชนิดควรแบ่งให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกัน
เตรียมของเหลวจากตัวอย่างพืชแต่ละชนิดและใช้ร่วมกัน โดยตัวอย่างพืชบางประเภทที่
นำ�มาทดสอบ เช่น ถั่วแดง ถั่วลิสง ควรแช่น้ำ�ทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อให้ตัวอย่างพืชนิ่มและง่าย
ต่อการบด
ผลการทดสอบ
สำ�หรับผลการทดสอบสารอาหารแต่ละประเภท เป็นดังนี้
หมายเหตุ
หากต้องการทดสอบกับตัวอย่างพืชที่มีการสะสมน้ำ�ตาล (ประเภท reducing
sugar เช่น กลูโคส ฟรักโทส) โดยใช้สารละลายเบเนดิกต์ จะสังเกตการเปลี่ยนแปลงสีของ
สารละลาย ดังนี้ เมื่อต้มให้ความร้อน สารละลายจะเปลี่ยนจากสีฟ้าเกิดเป็นตะกอนสีส้ม
หรือสีแดงอิฐ โดยสีของสารละลายอาจเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง หรือสีเหลืองได้หาก
ปริมาณน้ำ�ตาลที่สะสมอยู่น้อย
การทดสอบ
ผลการเปลี่ยนแปลง
แป้ง
สารละลายไอโอดีนซึ่งมีสีน้ำ�ตาลอ่อนจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำ�เงินแกมม่วง
โปรตีน สารละลายไบยูเร็ตซึ่งมีสีฟ้าจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง
ลิพิด
กระดาษขาวที่ทึบแสงเปลี่ยนเป็นโปร่งแสง
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | การดำ�รงชีวิตของพืช
76
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ