ครูให้ความรู้เพิ่มเติมในหัวข้อกระบวนการหมักซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ 2 รูปแบบคือ กระบวนการหมัก
กรดแลกติก และกระบวนการหมักแอลกอฮอล์ โดยใช้รูป 3.41 และรูป 3.42 ในหนังสือเรียนประกอบ
คำ�บรรยาย ซึ่งก่อนการบรรยายในหัวข้อนี้ครูอาจแนะนำ�ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มทำ�กิจกรรมลองทำ�ดูใน
หนังสือเรียน
กิจกรรมลองทำ�ดูเป็นกิจกรรมเสริม ที่แนะนำ�ให้นักเรียนทำ�เพื่อต่อยอดความรู้ตามความสนใจ
ของนักเรียน โดยมีแนวทางในการทำ�กิจกรรมดังนี้
- ครูอาจมอบหมายให้นักเรียนทำ�กิจกรรมต่าง ๆ นอกเวลาเรียนและให้นักเรียนออกแบบ
กิจกรรมเอง โดยอิงข้อมูลในกรอบที่วางไว้
- ผลการทำ�กิจกรรมที่ได้อาจนำ�มาอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน อาศัยแนวทางคำ�ถามที่มีไว้
เป็นตัวอย่าง หรือครูสามารถตั้งคำ�ถามอื่นๆ ที่สอดคล้องกับเนื้อหาเพิ่มเติมเองได้ด้วย
- หากผลการทดลองไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกันอาจร่วมกันวิเคราะห์หาสาเหตุ และลองทำ�
กิจกรรมซ้ำ� โดยปรับเปลี่ยนค่าต่าง ๆ ได้
- ครูควรให้นักเรียนบันทึกกิจกรรมให้ละเอียด ทั้งวิธีการทดลองที่ออกแบบ ชนิดวัสดุอุปกรณ์
และปริมาตรที่ใช้ ผลการทำ�กิจกรรม จำ�นวนซ้ำ�ของการทำ�กิจกรรม
- การบันทึกผลการทดลอง นักเรียนอาจจะบันทึกสิ่งที่เห็นจากการทดลองเรียงจากหลอด
ทดลองที่ 1 2 และ 3 ตามลำ�ดับ แต่ในการอภิปรายผลการทดลอง อาจจะพิจารณาจาก
หลอดที่ให้ผลก่อน เพื่อเชื่อมโยงกับเนื้อหา แล้วจึงอภิปรายหลอดที่ไม่เกิดกระบวนการหมัก
- วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ อาจจะปรับเปลี่ยนได้ให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน
หลอดทดลองที่ 1 น้ำ�กลั่น 9 mL + ยีสต์ผง 1/2 ช้อนชา
หลอดทดลองที่ 2 น้ำ�กลั่น 9 mL + ยีสต์ผง 1/2 ช้อนชา + น้ำ�ตาลทราย 1/2 ช้อนชา
หลอดทดลองที่ 3 น้ำ�สับปะรด 9 mL + ยีสต์ผง 1/2 ช้อนชา
เติมน้ำ�มันพืชให้ลอยอยู่ที่ผิวหน้าของสารละลายตั้งทิ้งไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมงโดยไม่ต้องเขย่า
หลอดทดลองและสังเกตผล
ลองทำ�ดู : การหมักแอลกอฮอล์ของเซลล์ยีสต์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | เซลล์และการทำ�งานของเซลล์
ชีววิทยา เล่ม 1
216