Table of Contents Table of Contents
Previous Page  225 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 225 / 284 Next Page
Page Background

จากนั้นครูบรรยายเนื้อหาของกระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอนโดยใช้รูป 3.39 ในหนังสือเรียน

ประกอบการบรรยาย และร่วมกันสรุปเป็นประเด็นหลักดังนี้

- กระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอนเกิดขึ้นบริเวณเยื่อหุ้มชั้นในของไมโทคอนเดรีย ซึ่งเป็น

บริเวณที่มีโปรตีนตัวนำ�อิเล็กตรอนชนิดต่าง ๆ ฝังอยู่

- สารพลังงานสูง คือ NADH และ FADH

2

ซึ่งมีสมบัติเป็นตัวให้อิเล็กตรอน จะส่งผ่าน

อิเล็กตรอนไปยังตัวนำ�อิเล็กตรอนต่าง ๆ บริเวณเยื่อหุ้มชั้นในของไมโทคอนเดรีย

- แก๊สออกซิเจนเป็นตัวรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้ายในกระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอนและได้

น้ำ�เป็นผลิตภัณฑ์

- ในขณะที่มีการส่งผ่านอิเล็กตรอน NADH และ FADH

2

จะเกิดการปลดปล่อยพลังงานออก

มาทีละน้อย พลังงานเหล่านี้นำ�มาใช้เป็นพลังงานในการเคลื่อนย้าย H

+

จากเมทริกซ์มายัง

ช่องว่างระหว่างเยื่อหุ้มชั้นในและเยื่อหุ้มชั้นนอกของไมโทคอนเดรีย

- การเคลื่อนย้าย H

+

ทำ�ให้เกิดความแตกต่างของความเข้มข้นของ H

+

ระหว่างผิวสองด้าน

ของเยื่อหุ้มชั้นในของไมโทคอนเดรีย

- H

+

ที่อยู่ในช่องว่างระหว่างเยื่อหุ้มชั้นในและเยื่อหุ้มชั้นนอกของไมโทคอนเดรีย จะแพร่กลับ

เข้าสู่เมทริกซ์ผ่านเอนไซม์ ATP synthase และเกิดการสร้าง ATP

ครูและนักเรียนอาจจะอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับคำ�ถามชวนคิดในหนังสือเรียนที่ว่า NADH 1

โมเลกุล ให้พลังงานเท่ากับ FADH

2

1 โมเลกุลหรือไม่ โดยครูให้นักเรียนใช้รูป 3.39 ประกอบคำ�อธิบาย

ว่า NADH 1 โมเลกุล ส่งผ่านอิเล็กตรอนไปยังตัวนำ�อิเล็กตรอนที่อยู่ในเยื่อหุ้มไมโทคอนเดรียมากกว่า

FADH

2

1 โมเลกุล ทำ�ให้เกิดการเคลื่อนย้าย H

+

ไปยังช่องว่างระหว่างเยื่อหุ้มไมโทคอนเดรียได้มากกว่า

ส่งผลให้เกิดการสร้าง ATP ที่มากกว่าตามไปด้วย และหลังจากการอภิปรายร่วมกันของนักเรียนครูอาจ

สรุปเป็นแผนภาพเพื่ออธิบายให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นดังนี้

NAD

+

FAD

NADH

ตัวนำ�อิเล็กตรอน

ไซโทซอล

เมทริกซ์

FADH

2

e

-

e

-

e

-

e

-

H

+

H

+

H

+

H

+

H

+

H

+

H

+

H

+

H

+

H

+

H

+

H

+

H

+

H

+

H

+

H

+

H

+

H

+

H

+

H

+

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 3 | เซลล์และการทำ�งานของเซลล์

ชีววิทยา เล่ม 1

213