3.4.1 การหายใจระดับเซลล์ในภาวะที่มีออกซิเจนเพียงพอ
ครูใช้รูปหรือวีดิทัศน์แสดงกิจกรรมของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว พืช สัตว์ หรือกิจกรรมของมนุษย์
และใช้คำ�ถามกระตุ้นให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการนำ�พลังงานไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ ของ
สิ่งมีชีวิต จากนั้นทบทวนเรื่องสารอาหาร ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์ และโครงสร้างเซลล์ โดยใช้
คำ�ถามเพื่อตรวจสอบความรู้ที่นักเรียนเคยเรียนมาแล้ว ดังนี้
สารอาหารประเภทใดจัดเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานกับสิ่งมีชีวิต
การลำ�เลียงสารชนิดต่าง ๆ เข้าสู่เซลล์ เกี่ยวข้องกับการสร้างพลังงานอย่างไร
คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน จัดเป็นสารอาหารที่ให้พลังงาน สารอาหารเหล่านี้จะ
ลำ�เลียงเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ เพื่อสร้างเป็นพลังงานให้กับเซลล์ในการเกิดกิจกรรมต่าง ๆ
ครูอาจใช้ประเด็นคำ�ถามเพิ่มเติมเพื่อเชื่อมโยงเรื่องสารอาหาร ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์
กับการหายใจระดับเซลล์ ดังนี้
คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารหลักที่ให้พลังงานกับร่างกาย ซึ่งจะผ่านการย่อยสลายจนได้
เป็นมอโนแซกคาไรด์ เช่น กลูโคส ก่อนจะลำ�เลียงเข้าสู่เซลล์เพื่อสร้างพลังงาน กลูโคสจัด
เป็นสารที่ให้พลังงานสูง การที่เซลล์จะนำ�พลังงานจากการสลายกลูโคสไปใช้โดยตรงอาจ
ทำ�ให้เกิดอันตรายกับเซลล์ได้ เซลล์จะสร้างพลังงานจากกระบวนการสลายกลูโคสได้อย่างไร
โดยไม่ทำ�ให้เกิดอันตรายขึ้นกับเซลล์
ครูเชื่อมโยงคำ�ตอบที่ได้จากการแสดงความคิดเห็นของนักเรียนกับรูป 3.36 ในหนังสือเรียน
และอธิบายว่าการสร้างพลังงานจากกระบวนการสลายกลูโคสในภาวะที่มีออกซิเจนเกิดขึ้นเป็น
กระบวนการต่อเนื่องกันเริ่มตั้งแต่
ไกลโคไลซิส
เป็นกระบวนการสลายกลูโคสซึ่งมีคาร์บอน 6 อะตอม ให้กลายเป็นสารที่มีคาร์บอน
3 อะตอม
การสร้างแอซิทิลโคเอนไซม์เอและวัฏจักรเครบส์
เป็นกระบวนการที่เปลี่ยนสารที่ได้จาก
ไกลโคไลซิสเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และสารพลังงานสูงต่าง ๆ
กระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอน
เป็นกระบวนการส่งผ่านอิเล็กตรอนของสารพลังงานสูง โดย
มีแก๊สออกซิเจนเกี่ยวข้องในการเป็นตัวรับอิเล็กตรอน และทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนรูปพลังงานจนกลาย
เป็น ATP ซึ่งเป็นสารพลังงานสูงที่เซลล์สามารถนำ�ไปใช้ได้
จากนั้นครูใช้รูป 3.37 ในหนังสือเรียนอธิบายขั้นตอนของไกลโคไลซิส แล้วให้นักเรียนสืบค้น
ข้อมูลเพิ่มเติมและร่วมกันอภิปรายโดยอาจใช้ประเด็นคำ�ถามเพื่อนำ�ไปสู่ข้อสรุปเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
และพลังงานที่ได้จากไกลโคไลซิส ดังนี้
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | เซลล์และการทำ�งานของเซลล์
ชีววิทยา เล่ม 1
209