Table of Contents Table of Contents
Previous Page  224 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 224 / 284 Next Page
Page Background

รวมทั้ง NADH และ FADH

2

จำ�นวนหนึ่ง ซึ่งอาจยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของเซลล์

โดยเฉพาะเมื่อมีกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องใช้พลังงานเป็นจำ�นวนมาก NADH และ FADH

2

มี

สมบัติการเป็นตัวให้อิเล็กตรอนซึ่งจะส่งผ่านอิเล็กตรอนไปยังตัวรับอิเล็กตรอนชนิดต่าง ๆ

ภายในเซลล์ทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนพลังงานจาก NADH และ FADH

2

ไปเป็นพลังงานในรูป

ของ ATP ผ่านกระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอน

คำ�ตอบที่เกิดจากการอภิปรายของนักเรียนอาจมีหลากหลาย ซึ่งครูสามารถสรุปเพื่อเชื่อมโยง

เข้าสู่การบรรยายในเนื้อหาต่อไปว่า เซลล์ต้องการพลังงานในรูปของ ATP ไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ ตลอด

เวลา ดังนั้นเซลล์จึงต้องมีกระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอน เพื่อเปลี่ยนพลังงานในรูปของสารพลังงาน

สูง ได้แก่ NADH และ FADH

2

ให้ได้พลังงานในรูป ATP

ปฏิกิริยาเคมีที่มีสารหนึ่งให้อิเล็กตรอนแล้วมีเลขออกซิเดชันเพิ่มขึ้นเรียกว่า ปฏิกิริยาออกซิเดชัน

(oxidation reaction) ส่วนปฏิกิริยาที่อีกสารหนึ่งรับอิเล็กตรอนแล้วมีเลขออกซิเดชันลดลงเรียก

ว่า ปฏิกิริยารีดักชัน (reduction reaction) ปฏิกิริยาออกซิเดชันและปฏิกิริยารีดักชันเป็นครึ่ง

ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ซึ่งเมื่อรวมครึ่งปฏิกิริยาทั้งสองเข้าด้วยกันจะได้เป็นปฏิกิริยารีดอกซ์

ตัวอย่างเช่น ปฏิกิริยาที่เปลี่ยนกรดไพรูวิกเป็นแอซิทิลโคเอนไซม์เอ โดยเอ็นไซม์ pyruvate

dehydrogenase

ในปฏิกิริยารีดอกซ์ สารที่เป็นตัวรับอิเล็กตรอนจากสารอื่นเรียกว่า ตัวออกซิไดส์ (oxidizing

agent) ส่วนสารที่เป็นตัวให้อิเล็กตรอนแก่สารอื่นเรียกว่า ตัวรีดิวซ์ (reducing agent)

กรดไพรูวิก

ตัวออกซิไดส์

ตัวรีดิวซ์

แอซิทิลโคเอนไซม์เอ

S

C

CH

3

O

CoA

C

C

CH

3

O

O

OH

+ HS-CoA + NAD

+

+ CO

2

+ NADH

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 3 | เซลล์และการทำ�งานของเซลล์

ชีววิทยา เล่ม 1

212