โมเลกุลกลูโคสถูกนำ�มาใช้ในการสร้างสารพลังงานสูงในรูปใดบ้าง
จากการอภิปรายร่วมกันนักเรียนควรสรุปได้ว่า ไกลโคไลซิสมีทั้งขั้นตอนที่ใช้พลังงานในรูปของATP
เพื่อเติมหมู่ฟอสเฟตให้กับโมเลกุลกลูโคสที่มีคาร์บอน6อะตอมซึ่งจะผ่านขั้นตอนต่างๆจนกลายเป็นG3P
ที่มีคาร์บอน 3 อะตอม จากนั้น เซลล์จะได้พลังงานในรูปแบบของสารพลังงานสูง คือ ATP และ NADH ซึ่ง
เกิดจากการเปลี่ยน G3P เป็นกรดไพรูวิก และสรุปได้ว่า กลูโคส 1 โมเลกุล เมื่อผ่านไกลโคไลซิส จะได้
ผลิตภัณฑ์เป็นกรดไพรูวิก 2 โมเลกุล NADH 2 โมเลกุล และได้ ATP สุทธิ 2 โมเลกุล
จากนั้นครูใช้ประเด็นคำ�ถามกระตุ้นความสนใจของนักเรียน เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่การสร้างแอซิทิล
โคเอนไซม์เอ ดังนี้
ATP 2 โมเลกุลที่ได้จากการสลายกลูโคสเมื่อผ่านไกลโคไลซิสนี้ เพียงพอต่อความต้องการ
ของเซลล์หรือไม่ เซลล์จะมีวิธีการอย่างไรที่จะทำ�ให้ได้พลังงานเพิ่มขึ้นจากสารที่มีพลังงาน
สูงอย่างกลูโคส
ครูอาจใช้คำ�ถามเพื่อทบทวนความรู้เกี่ยวกับไมโทคอนเดรียซึ่งเป็นออร์แกเนลล์ที่สำ�คัญใน
การสร้างพลังงานให้กับเซลล์ ดังนี้
การสลายกลูโคสในขั้นตอนไกลโคไลซิสเกิดขึ้นที่บริเวณใดของเซลล์
ออร์แกเนลล์ใดที่มีหน้าที่สำ�คัญในการสร้างพลังงานให้กับเซลล์
การสลายกลูโคสเกิดขึ้นบริเวณไซโทซอล โดยมีออร์แกเนลล์ที่สำ�คัญในการสร้างพลังงานให้
กับเซลล์คือ ไมโทคอนเดรีย
เซลล์ลำ�เลียงกรดไพรูวิกเข้าสู่ไมโทคอนเดรียซึ่งเป็นออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มสองชั้นได้อย่างไร
ภายในไมโทคอนเดรียมีเอนไซม์ต่าง ๆ ซึ่งเร่งปฏิกิริยาเคมีที่ทำ�ให้เกิดพลังงานกับเซลล์ ดังนั้น
เซลล์จึงต้องมีการลำ�เลียงกรดไพรูวิกซึ่งได้จากขั้นตอนไกลโคไลซิสเข้าสู่ไมโทคอนเดรีย
กรดไพรูวิกเป็นสารที่มีโมเลกุลเล็กแต่ไม่สามารถแพร่ผ่านเยื่อหุ้มไมโทคอนเดรียได้โดยตรงต้อง
อาศัยการแพร่แบบฟาซิลิเทต อาศัยโปรตีนชื่อว่า porin ที่อยู่บนเยื่อหุ้มชั้นนอก และยังต้อง
อาศัยโปรตีนอีกชนิดหนึ่งที่อยู่บนเยื่อหุ้มชั้นในคือ เอนไซม์ pyruvate translocase ซึ่งมีความ
จำ�เพาะในการจับและพากรดไพรูวิกผ่านเยื่อหุ้มชั้นในของไมโทคอนเดรียเข้าสู่เมทริกซ์
ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | เซลล์และการทำ�งานของเซลล์
ชีววิทยา เล่ม 1
210