แอกทีฟทรานสปอร์ต
ครูอธิบายเกี่ยวกับแอกทีฟทรานสปอร์ตโดยชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างจากการลำ�เลียงแบบอื่น
เช่น การแพร่แบบธรรมดา การแพร่แบบฟาซิลิเทต โดยชี้ให้เห็นถึงการใช้พลังงาน เช่น พลังงานจาก
การสลายพันธะของ ATP ซึ่งทำ�ให้เซลล์สามารถลำ�เลียงสารย้อนทิศทางความแตกต่างของความ
เข้มข้นได้ (รูป 3.32 ในหนังสือเรียน)
ครูยกตัวอย่างแอกทีฟทรานสปอร์ต เช่น การหลั่งไฮโดรเจนไอออนจากเซลล์บุผิวของกระเพาะ
อาหารเข้าสู่กระเพาะอาหาร (รูป 3.33 ในหนังสือเรียน) การรักษาความเข้มข้นของโซเดียมไอออนและ
โพแทสเซียมไอออนภายในเซลล์ประสาทของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำ�นม โดยชี้แจงว่าแอกทีฟทรานสปอร์ต
อาจมีรายละเอียดของกลไกที่แตกต่างกันระหว่างกรณี
ครูอาจเชื่อมโยงความรู้กับสถานการณ์ในชีวิตประจำ�วัน เช่น การใช้ยาลดกรดบางประเภทที่
ยับยั้งการหลั่งไฮโดรเจนไอออนเข้าสู่กระเพาะอาหารโดยจับกับโปรตีนที่ลำ�เลียงไฮโดรเจนไอออน ทำ�ให้
ไม่สามารถลำ�เลียงได้ตามปกติ ปริมาณกรดที่หลั่งสู่กระเพาะอาหารจึงลดลง
การแพร่แบบธรรมดา การแพร่แบบฟาซิลิเทต และแอกทีฟทรานสปอร์ตเหมือนหรือ
แตกต่างกันอย่างไร
ประเด็น
การแพร่
แบบธรรมดา
การแพร่
แบบฟาซิลิเทต
แอกทีฟทรานสปอร์ต
กลไกการลำ�เลียง
เคลื่อนผ่านระหว่าง
โมเลกุลในชั้นลิพิด
ใช้โปรตีนลำ�เลียง
ใช้โปรตีนลำ�เลียง
ทิศทางการลำ�เลียง
จากบริเวณที่มีความ
เข้มข้นของสารสูงไป
ยังบริเวณที่มีความ
เข้มข้นของสารต่ำ�
จากบริเวณที่มีความ
เข้มข้นของสารสูงไป
ยังบริเวณที่มีความ
เข้มข้นของสารต่ำ�
จากบริเวณที่มีความ
เข้มข้นของสารต่ำ�ไป
ยังบริเวณที่มีความ
เข้มข้นของสารสูง
พลังงานจาก ATP
ไม่ใช้
ไม่ใช้
ใช้
เฉลยตรวจสอบความเข้าใจ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | เซลล์และการทำ�งานของเซลล์
ชีววิทยา เล่ม 1
206