จากนั้นครูอธิบายว่าการที่โครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์ประกอบด้วยชั้นลิพิดนั้นทำ�ให้สารที่ละลาย
ในลิพิดสามารถเข้าสู่เซลล์ได้ (รูป 3.25 ในหนังสือเรียน) และอธิบายว่าสารบางชนิดถึงแม้จะละลาย
น้ำ�ได้แต่ไม่มีประจุและมีขนาดเล็กพอ จะสามารถลำ�เลียงผ่านชั้นลิพิดได้เช่นเดียวกัน เช่น แก๊ส
ออกซิเจน (รูป 3.26 ในหนังสือเรียน)
ครูยกตัวอย่างสารที่เซลล์ต้องลำ�เลียงเข้าหรือออกจากเซลล์ แต่ไม่สามารถลำ�เลียงผ่านชั้นลิพิด
ได้ เช่น กลูโคส (เนื่องจากไม่ละลายในลิพิดและมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะแทรกผ่านระหว่างโมเลกุลของ
ฟอสโฟลิพิด) คลอไรด์ไอออน (เนื่องจากมีประจุจึงมีความชอบน้ำ�สูงเกินกว่าที่จะผ่านชั้นลิพิดได้)
ซึ่งจะลำ�เลียงโดยผ่านโปรตีนลำ�เลียง (transport protein) ในเยื่อหุ้มเซลล์ที่แทรกอยู่ในชั้นลิพิด
(รูป 3.27 ในหนังสือเรียน)
จากนั้นครูอธิบายถึงการลำ�เลียงสารที่มีโมเลกุลใหญ่เกินกว่าจะผ่านชั้นลิพิดหรือโปรตีนได้
ซึ่งจะลำ�เลียงเข้าหรือออกจากเซลล์ได้โดยการสร้างเวสิเคิลล้อมรอบสาร (รูป 3.28 ในหนังสือเรียน)
ครูสรุปภาพรวมว่าการลำ�เลียงสารเข้าหรือออกจากเซลล์มีหลายวิธี ซึ่งขึ้นอยู่กับสมบัติของสาร
รวมทั้งสมบัติของโครงสร้างต่างๆ ของเยื่อหุ้มเซลล์ และอาจให้นักเรียนวาดแผนภาพสำ�หรับแต่ละกรณี
รวมในแผนภาพเดียวกัน รวมทั้งสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวอย่างสารอาหารที่ลำ�เลียงเข้าและออก
จากเซลล์ด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อใช้ในการจัดทำ�แผนภาพ
ครูอาจให้นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์และอภิปรายถึงกรณีสารที่เพิ่มความชัดเจนระหว่างหลอด
เลือดและเนื้อเยื่ออื่นๆ ในการตรวจวินิจฉัยหลอดเลือดในสมองด้วยเทคนิค MRI ที่ได้กล่าวถึงในขั้น
นำ�เข้าสู่บทเรียน เพื่อสรุปถึงสมบัติของสารดังกล่าวที่สัมพันธ์กับความสามารถในการลำ�เลียงเข้าสู่เซลล์
โดยใช้แนวคำ�ตอบของคำ�ถามท้ายบทข้อที่ 5
กลไกการลำ�เลียงสารเข้าและออกจากเซลล์
ครูอธิบายกลไกการลำ�เลียงสารเข้าและออกจากเซลล์แบบต่างๆ ที่กล่าวถึงข้างต้น โดยอาจใช้
แอนิเมชันหรือวีดิทัศน์ประกอบ แล้วให้นักเรียนเขียนแผนภาพเพื่อช่วยในการสรุปกลไกการลำ�เลียง
สารด้วยวิธีต่าง ๆ
ในการทดสอบความสามารถในการละลายของสีนิวทรัลเรดและสีผสมอาหาร ใช้สารละลาย PBS
ที่มีค่า pH ประมาณ 7.4 แทนน้ำ�กลั่น เนื่องจากที่ค่า pH ของน้ำ�กลั่น สีนิวทรัลเรดจะละลายได้
ไม่ดีในน้ำ�มัน จึงไม่เห็นผลที่ชัดเจน
ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | เซลล์และการทำ�งานของเซลล์
ชีววิทยา เล่ม 1
203