การแพร่แบบธรรมดา
ครูทบทวนความรู้เรื่องการแพร่ของโมเลกุลสาร โดยใช้กรณีของการหยดสารละลายด่างทับทิม
ลงในน้ำ� จากนั้นอธิบายกลไกการแพร่แบบธรรมดาว่าเกิดจากการเคลื่อนที่ของโมเลกุลสารและการ
เคลื่อนไหวของฟอสโฟลิพิดในชั้นลิพิดที่ทำ�ให้เกิดช่องที่โมเลกุลสารสามารถแทรกผ่านได้ โดยมีทิศทาง
การลำ�เลียงจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารสูงไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารต่ำ� (รูป 3.29
ในหนังสือเรียน) อาจให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเพื่อหาตัวอย่างสารที่ลำ�เลียงโดยวิธีนี้เพิ่มเติม
ออสโมซิส
ครูอธิบายเกี่ยวกับออสโมซิส โดยเพิ่มเติมจากกรณีการแพร่แบบธรรมดา ว่าโมเลกุลของน้ำ�มี
การเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาและสามารถแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้เช่นกัน ครูอาจเชื่อมโยงความรู้กับ
สถานการณ์ในชีวิตประจำ�วัน เช่น การเก็บรักษาพืชผักไม่ให้เหี่ยว ความเข้มข้นของน้ำ�เกลือที่ให้ผู้ป่วย
ผ่านทางหลอดเลือด
การแพร่แบบฟาซิลิเทต
ครูนำ�เข้าสู่เรื่องการแพร่แบบฟาซิลิเทต โดยใช้ผลการวัดอัตราการลำ�เลียงกลูโคสเข้าสู่เซลล์เม็ด
เลือดแดงโดยเลี้ยงเซลล์เม็ดเลือดแดงในสารละลายกลูโคสที่มีความเข้มข้นแตกต่างกัน ซึ่งพบว่าอัตรา
การลำ�เลียงที่วัดได้ต่างจากค่าประมาณการหากเกิดการลำ�เลียงโดยการแพร่แบบธรรมดา (รูป 3.30 ใน
หนังสือเรียน) และถามว่าการลำ�เลียงกลูโคสเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดงนี้มีกลไกเป็นอย่างไร
ครูอธิบายถึงอัตราการลำ�เลียงกลูโคสเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดงในการทดลองว่า เนื่องจากการ
แพร่แบบฟาซิลิเทตเกิดผ่านโปรตีนลำ�เลียงซึ่งมีความจำ�เพาะต่อสารจึงเกิดได้เร็วกว่าการแพร่แบบ
ธรรมดามากที่ความเข้มข้นเริ่มต้นเดียวกัน จากนั้นอธิบายถึงกลไกการแพร่แบบฟาซิลิเทต
โดยครอบคลุมถึงการจับกับโปรตีนลำ�เลียงที่มีความจำ�เพาะกับสาร การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของโปรตีน
ลำ�เลียงที่ทำ�ให้โมเลกุลของสารที่จับเคลื่อนเข้าสู่เซลล์ และทิศทางการลำ�เลียงที่สัมพันธ์กับความเข้มข้น
(รูป 3.31 ในหนังสือเรียน)
ครูให้นักเรียนเปรียบเทียบการแพร่แบบธรรมดากับการแพร่แบบฟาซิลิเทตในประเด็นต่อไปนี้
และอาจให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวอย่างสารอาหารที่ลำ�เลียงด้วยการแพร่แบบธรรมดา
และการแพร่แบบฟาซิลิเทต
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | เซลล์และการทำ�งานของเซลล์
ชีววิทยา เล่ม 1
204