4.1 โครโมโซม
จุดประสงค์การเรียนรู้
สืบค้นข้อมูลและอธิบายโครงสร้างและองค์ประกอบของโครโมโซม และหลักการจำ�แนก
โครโมโซม
แนวการจัดการเรียนรู้
4.1.1 รูปร่าง ลักษณะ และจำ�นวนโครโมโซม
หลังจากอภิปรายเกี่ยวกับรูปนำ�บทแล้ว ใช้คำ�ถามถามนักเรียน ว่า
ถ้าจัดเรียงโครโมโซมโดยพิจารณาจากขนาดของโครโมโซมและตำ�แหน่งของเซนโทรเมียร์
จะจัดเรียงได้อย่างไร
คำ�ตอบของนักเรียนอาจจะหลากหลาย จากนั้นให้นักเรียนศึกษารูป 4.1 แคริโอไทป์ของกบนา
และมนุษย์ ซึ่งนักเรียนควรจะสังเกตเห็นว่า เมื่อนำ�โครโมโซมมาเรียงแล้วจะเรียงได้เป็นคู่ๆ แต่ละคู่มี
รูปร่างลักษณะที่เหมือนกัน ซึ่งก็คือ ฮอมอโลกัสโครโมโซม จากนั้นจึงสรุปได้ว่า สามารถจำ�แนก
โครโมโซมได้ตามขนาดของโครโมโซมและตำ�แหน่งของเซนโทรเมียร์ โดยโครโมโซมอาจมีรูปร่างได้
หลายแบบ ดังรูป 4.2
ครูอาจให้ความรู้เพิ่มเติมเรื่องตำ�แหน่งของเซนโทรเมียร์บนโครโมโซม ว่า เซนโทรเมียร์อาจอยู่
ที่ตำ�แหน่งต่าง ๆ เช่น อยู่กึ่งกลางโครโมโซมทำ�ให้แขน 2 ข้างยาวใกล้เคียงกัน อยู่ค่อนมาทางด้านใด
ด้านหนึ่งของโครโมโซมทำ�ให้แขน 2 ข้างยาวไม่เท่ากัน และอยู่ใกล้ส่วนปลายโครโมโซม
ครูให้นักเรียนศึกษาตาราง 4.1 ในหนังสือเรียนและร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับจำ�นวนโครโมโซม
ของสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ต่าง ๆ โดยมีแนวคำ�ถามดังนี้
สิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กันจะมีจำ�นวนโครโมโซมต่างกันเสมอหรือไม่ และสามารถใช้จำ�นวน
โครโมโซมในการระบุสปีชีส์ของสิ่งมีชีวิตได้หรือไม่ อย่างไร
จากการศึกษาตาราง 4.1 พบว่า โดยทั่วไปแล้ว สิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์มีจำ�นวนโครโมโซมไม่เท่า
กัน แต่สิ่งมีชีวิตบางสปีชีส์มีจำ�นวนโครโมโซมเท่ากัน เช่น สุนัขและไก่มีจำ�นวนโครโมโซม 78 โครโมโซม
เท่ากัน กะหล่ำ�ปลีและมะละกอมีจำ�นวนโครโมโซม 18 โครโมโซมเท่ากัน และให้นักเรียนตอบคำ�ถาม
ท้ายตาราง ซึ่งมีแนวการตอบดังนี้
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โครโมโซมและสารพันธุกรรม
ชีววิทยา เล่ม 2
8