ปริมาณเบส 4 ชนิด ใน DNA ของสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ต่าง ๆ สัมพันธ์กันอย่างไร
เบส A มีปริมาณใกล้เคียงกับเบส T และเบส G มีปริมาณใกล้เคียงกับเบส C นั่นคือ A : T มีค่า
ใกล้เคียง 1:1 และ G : C มีค่าใกล้เคียง 1:1
อัตราส่วนของ A + T และ G + C ในโมเลกุลของ DNA ของสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ มีค่าใกล้เคียง
กันหรือไม่
อัตราส่วนของ A + T และ G + C ในสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์มีค่าไม่ใกล้เคียงกัน
อัตราส่วนของ A + G และ T + C ในโมเลกุลของ DNA ของสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ มีค่าใกล้เคียง
กันหรือไม่
อัตราส่วนของ A + G และ T + C ในสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์มีค่าใกล้เคียงกัน
จากข้อมูลในตาราง สามารถสรุปได้ว่า ใน DNA ของสิ่งมีชีวิตทุกสปีชีส์ เบส A มีปริมาณใกล้
เคียงกับเบส T ส่วน เบส G มีปริมาณใกล้เคียงกับเบส C และปริมาณของ A + T จะไม่เท่ากับปริมาณ
ของเบส G + C และปริมาณของ A + G จะมีค่าใกล้เคียงกับปริมาณของ T + C
4.2.3 โครงสร้างของ DNA
ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนโดยเชื่อมโยงการทดลองของชาร์กาฟฟ์ จากผลการทดลองจะเห็นว่า
อัตราส่วนระหว่างเบส A : T และ G : C คงที่เสมอ
เป็นไปได้หรือไม่ว่าเบส A จับคู่กับ T และเบส G
จับคู่กับ C ถ้าเป็นดังที่กล่าวแล้วโครงสร้างของ DNA น่าจะเป็นอย่างไร
หรือครูอาจใช้แนวคำ�ถามดังนี้
จากอัตราส่วนระหว่างเบสของโมเลกุลของ DNA ถ้าหากนำ�มาเขียนเป็นโครงสร้างโมเลกุล
ของ DNA นักเรียนทราบหรือไม่ว่าโมเลกุลของ DNA จะมีโครงสร้างเป็นอย่างไร
พอลินิวคลีโอไทด์ประกอบกันเป็น DNA ได้อย่างไร
ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนอภิปรายร่วมกัน ซึ่งคำ�ตอบของนักเรียนอาจจะยังไม่ได้ข้อสรุปที่ถูกต้อง
ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลและวิเคราะห์โครงสร้างของ DNA จากการศึกษาค้นคว้าของแฟรงกลิน
กอสลิง และวิลคินส์ เพื่อหาข้อสรุปที่ถูกต้องเกี่ยวกับโครงสร้างของ DNA
จากการสืบค้นข้อมูล นักเรียนควรจะตอบได้ว่า มีการศึกษาโครงสร้างของ DNA โดยใช้เทคนิค
เอกซ์เรย์ดิฟแฟรกชันด้วยการฉายรังสีเอกซ์ผ่านเส้นใย DNAพบว่าจะเกิดการหักเหของรังสีเอกซ์ทำ�ให้
เกิดภาพบนแผ่นฟิล์ม เมื่อนำ�มาแปลข้อมูลทำ�ให้ทราบว่า
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โครโมโซมและสารพันธุกรรม
ชีววิทยา เล่ม 2
14