1. DNA ประกอบด้วยพอลินิวคลีโอไทด์มากกว่า 1 สาย
2. พอลินิวคลีโอไทด์มีลักษณะเป็นเกลียว
3. เกลียวของพอลินิวคลีโอไทด์แต่ละรอบมีระยะห่างเท่ากัน
วอตสันและคริกได้เสนอแบบจำ�ลองโครงสร้างโมเลกุลของ DNA โดยใช้ช้อมูลจากผลการทดลอง
ของชาร์กาฟฟ์ พร้อมด้วยภาพจากเทคนิคเอกซ์เรย์ดิฟแฟรกชันของ DNA ทำ�ให้ทราบว่า พันธะเคมี
ที่เชื่อมพอลินิวคลีโอไทด์ 2 สายให้ติดกันเป็นพันธะไฮโดรเจนที่เกิดขึ้นระหว่างคู่เบส ซึ่งพันธะนี้สามารถ
ยึดสายพอลินิวคลีโอไทด์ 2 สายให้เข้าคู่กันได้ จากนั้นครูให้นักเรียนศึกษารูป 4.10 ในหนังสือเรียน
ประกอบและตอบคำ�ถาม ซึ่งมีแนวการตอบคำ�ถามดังนี้
แรงยึดระหว่างคู่เบส A กับ T และคู่เบส G กับ C คู่ใดมีความแข็งแรงมากกว่ากัน เพราะเหตุใด
แรงยึดระหว่างเบส G กับ C แข็งแรงมากกว่าแรงยึดระหว่างเบส A กับ T เพราะเบส G กับ C
ยึดกันด้วยพันธะไฮโดรเจน 3 พันธะ แต่เบส A กับ T ยึดกันด้วยพันธะไฮโดรเจน 2 พันธะ
ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้าง DNA และศึกษารูป 4.11 ซึ่งนักเรียนควรอธิบาย
ได้ว่า วอตสันและคริกได้สร้างแบบจำ�ลองโมเลกุลของ DNA แล้วเสนอโครงสร้างโมเลกุลของ DNA ว่า
ประกอบด้วยพอลินิวคลีโอไทด์ 2 สาย เบสในแต่ละสายของ DNA ที่เป็นเบสคู่สมยึดกันด้วยพันธะ
ไฮโดรเจน จากแนวคิดดังกล่าวนี้สรุปได้ว่า
1. DNA ประกอบด้วยพอลินิวคลีโอไทด์ 2 สาย โดยแต่ละสายมีทิศทางจากปลาย 5′ ไปยัง
ปลาย 3′ เรียงสลับทิศทางกัน
2. มีการจับคู่อย่างจำ�เพาะเจาะจงคือ เบส A จับกับเบส T และเบส G จับกับเบส C
3. เบส A ยึดกับเบส T ด้วยพันธะไฮโดรเจน 2 พันธะ เบส G ยึดกับเบส C ด้วยพันธะไฮโดรเจน
3 พันธะ เปรียบคล้ายกับขั้นบันได
4. พอลินิวคลีโอไทด์ 2 สาย พันกันบิดเป็นเกลียวคู่เวียนขวา คล้ายบันไดเวียน โดยมีน้ำ�ตาล
ดีออกซีไรโบสจับกับหมู่ฟอสเฟตคล้ายเป็นราวบันได
5. เกลียวแต่ละรอบห่างเท่ากัน 3.4 nm และคู่เบสแต่ละคู่ห่างกัน 0.34 nm ระยะระหว่าง
คู่เบสแต่ละคู่เปรียบคล้ายกับระยะระหว่างขั้นบันได และพอลินิวคลีโอไทด์ 2 สายห่างกัน
2 nm
จากนั้นให้นักเรียนทำ�กิจกรรม 4.1 แบบจำ�ลอง DNA เพื่อให้นักเรียนเข้าใจโครงสร้างของ DNA
โดยการสร้างแบบจำ�ลอง
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โครโมโซมและสารพันธุกรรม
ชีววิทยา เล่ม 2
15