4.2.2 องค์ประกอบทางเคมีของ DNA
ครูทบทวนความรู้เดิมเรื่องกรดนิวคลิอิกจากที่เรียนมาแล้วในบทที่ 2 และให้นักเรียนสืบค้น
ข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างและส่วนประกอบของ DNA โดยใช้รูป 4.7 ในหนังสือเรียน แสดงโครงสร้าง
ของนิวคลีโอไทด์จากนั้นครูตั้งคำ�ถามเพื่อนำ�ไปสู่การอภิปรายดังนี้
ไนโตรจีนัสเบสประกอบด้วยอะตอมของธาตุใดบ้าง จำ�แนกได้เป็นกี่ประเภท และแต่ละ
ประเภทมีความเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร
จากการสืบค้นข้อมูลและการอภิปรายจากรูป 4.7 ในหนังสือเรียน นักเรียนควรบอกได้ว่า
ไนโตรจีนัสเบสประกอบด้วยโครงสร้างที่เป็นวงที่มีธาตุ C และ N เป็นองค์ประกอบ จากนั้นครูควรให้
นักเรียนเปรียบเทียบความแตกต่างของไนโตรจีนัสเบส ซึ่งจำ�แนกเป็น 2 ประเภท คือ เบสพิวรีน มี 2
ชนิด คือ อะดีนีน (A) และกวานีน (G) ส่วนเบสไพริมิดีน มี 2 ชนิด คือ ไซโทซีน (C) และไทมีน (T)
และตอบคำ�ถามในหนังสือเรียนซึ่งมีแนวการตอบคำ�ถามดังนี้
นิวคลีโอไทด์แต่ละชนิดเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
นิวคลีโอไทด์แต่ละชนิดมีน้ำ�ตาลและหมู่ฟอสเฟตเหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่ชนิดของเบส
โดยอาจมีเบสเป็น A G C หรือ T
จากนั้นครูทบทวนเรื่องการเชื่อมต่อของนิวคลีโอไทด์เป็นสายพอลินิวคลีโอไทด์ที่เรียนมาแล้ว
ในเรื่องกรดนิวคลิอิก และศึกษารูป 4.8 ก. นักเรียนควรสรุปได้ว่า แต่ละนิวคลีโอไทด์เชื่อมต่อกันด้วย
หมู่ฟอสเฟต หมู่ฟอสเฟตของนิวคลีโอไทด์หนึ่งจะเชื่อมต่อกับหมู่ไฮดรอกซิลของน้ำ�ตาลเพนโทสของ
อีกนิวคลีโอไทด์หนึ่ง แต่ละสายพอลินิวคลีโอไทด์แตกต่างกันที่จำ�นวนและลำ�ดับของนิวคลีโอไทด์ที่มา
เชื่อมต่อกัน
ครูควรเน้นให้นักเรียนสังเกตรูป 4.8 ข. สายพอลินิวคลีโอไทด์ ซึ่งปลายด้านหนึ่งของ
นิวคลีโอไทด์จะมีคาร์บอนตำ�แหน่งที่ 5 ของน้ำ�ตาลดีออกซีไรโบสจะยึดกับหมู่ฟอสเฟต เรียก
ปลายด้านนี้ว่าปลาย 5′ และอีกปลายหนึ่งเป็นคาร์บอนตำ�แหน่งที่ 3 ของน้ำ�ตาลดีออกซีไรโบสของ
นิวคลีโอไทด์ที่อยู่ปลายสุดที่มีหมู่ไฮดรอกซิล เรียกปลายด้านนี้ว่า ปลาย 3′
จากนั้นให้นักเรียนศึกษาตาราง 4.3 ในหนังสือเรียน ซึ่งเป็นการทดลองของเออร์วิน ชาร์กาฟฟ์
แล้วให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้คำ�ถามในหนังสือเรียนซึ่งมีแนวการตอบคำ�ถามดังนี้
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โครโมโซมและสารพันธุกรรม
ชีววิทยา เล่ม 2
13