การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูลโดย
นำ�ข้อมูลจากการประกอบวัตถุจากชิ้นส่วน
ย่อยๆ และการแยกชิ้นส่วนย่อยๆ ของวัตถุ
มาประกอบเป็นวัตถุชิ้นใหม่
๑. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการใช้ตัวต่อของเล่นเพื่อให้เกิด
ข้อสงสัยว่าจำ�นวนตัวต่อหนึ่งชุดสามารถประกอบเป็นวัตถุรูปแบบต่าง ๆ
ที่แตกต่างกันได้หรือไม่เพื่อนำ�ไปสู่การทำ�กิจกรรม
๒. นักเรียนออกแบบวัตถุรูปแบบต่าง ๆ โดยอาจออกแบบอย่างน้อย
๓ รูปแบบโดยใช้ตัวต่อหนึ่งชุด
๓. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมโดยต่อตัวต่อครั้งละ ๑ รูปแบบ บันทึกภาพวัตถุ
แต่ละรูปแบบ นำ�เสนอโดยการแสดงผลงาน
๔. ครูและนักเรียนร่วมกันคัดเลือกผลงาน แล้วอาจนำ�เสนอในรูปแบบต่าง ๆ
เช่น สื่อสังคมออนไลน์ การแสดงผลงานในวันวิทยาศาสตร์ การประกวด
ในงานโรงเรียน
ด้านความรู้
ยกตัวอย่างวัตถุที่ประกอบจากชิ้นส่วนย่อย ๆ และ
สามารถแยกออกจากกันเพื่อประกอบเป็นวัตถุชิ้นใหม่
ด้านความรู้
วัตถุประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนย่อย ๆ ซึ่งสามารถ
แยกออกจากกัน และนำ�มาประกอบเป็นวัตถุชิ้น
ใหม่ได้อีก
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูลจาก
การประกอบวัตถุจากชิ้นส่วนย่อย ๆ และการแยก
ชิ้นส่วนย่อยๆ ของวัตถุมาประกอบเป็นวัตถุชิ้นใหม่
พร้อมแสดงเหตุผลประกอบ
114
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
สาระที่ ๒ วิทยาศาสตร์กายภาพ
มาตรฐาน ว ๒.๑ เข้าใจสมบัติของสสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค
หลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร การเกิดสารละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี
มาตรฐาน ว ๒.๒ เข้าใจธรรมชาติของแรงในชีวิตประจำ�วัน ผลของแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุ ลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุ รวมทั้งนำ�ความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว ๒.๓ เข้าใจความหมายของพลังงาน การเปลี่ยนแปลงและการถ่ายโอนพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสสารและพลังงาน พลังงานในชีวิตประจำ�วัน
ธรรมชาติของคลื่น ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเสียง แสง และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมทั้งนำ�ความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
๑. อธิบายว่าวัตถุประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนย่อยๆ ซึ่งสามารถแยกออกจากกันได้และประกอบกันเป็นวัตถุชิ้นใหม่ได้ โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์