Table of Contents Table of Contents
Previous Page  128 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 128 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด

๓. ระบุผลของแรงที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุจากหลักฐานเชิงประจักษ์

ด้านความรู้

การออกแรงโดยการดึงหรือการผลักมีผลต่อ

การเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ โดย

การเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ ได้แก่

วัตถุที่อยู่นิ่งเปลี่ยนเป็นเคลื่อนที่ วัตถุที่กำ�ลัง

เคลื่อนที่เปลี่ยนเป็นเคลื่อนที่เร็วขึ้น หรือช้าลง

หรือหยุดนิ่ง หรือเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่

๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับการออกแรงและ

ผลของการออกแรงกระทำ�ต่อวัตถุ โดยอาจใช้วิธีซักถาม หรือใช้สื่อต่าง ๆ

เช่น รูป ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์ หรือการสาธิต เพื่อนำ�ไปสู่การทำ�กิจกรรม

เพื่ออธิบายผลของแรงที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ

๒. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมโดยการออกแรงกระทำ�ต่อวัตถุต่างๆ และรวบรวม

หลักฐานเชิงประจักษ์ โดยสังเกตทิศทางการออกแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุ การ

เปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่และทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุเมื่อมีแรงมา

กระทำ� บันทึกผล โดยอาจบันทึกเป็นภาพวีดิทัศน์ สรุปผล และนำ�เสนอ

๓. นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์มาสนับสนุนเพื่อให้

ได้ข้อสรุปว่า

- การออกแรงกระทำ�ต่อวัตถุที่มีทิศทางเข้าหาตัวผู้ออกแรงเป็นการดึง

ส่วนการออกแรงกระทำ�ต่อวัตถุที่มีทิศทางออกจากตัวผู้ออกแรง

เป็นการผลัก

- เมื่อออกแรงกระทำ�ต่อวัตถุอาจทำ�ให้วัตถุเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่

โดยเปลี่ยนแปลงจากอยู่นิ่งเป็นเคลื่อนที่ จากเคลื่อนที่เป็นเคลื่อนที่

เร็วขึ้นเมื่อออกแรงกระทำ�ในทิศทางเดียวกับทิศทางการเคลื่อนที่ของ

วัตถุ หรือเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่เป็นเคลื่อนที่ช้าลงหรือหยุดนิ่งเมื่อ

ออกแรงกระทำ�ในทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ

หรือเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่เมื่อออกแรงกระทำ�ในทิศทางที่ต่าง

จากทิศทางการเคลื่อนที่เดิมของวัตถุ

ด้านความรู้

๑. ระบุผลของแรงที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่

ของวัตถุ

๒. ยกตัวอย่างการออกแรงกระทำ�ต่อวัตถุโดยระบุว่า

เป็นการดึงหรือการผลัก

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการสังเกต โดยสังเกตทิศทางการ

ออกแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุ การเปลี่ยนแปลง

การเคลื่อนที่และทิศทางการเคลื่อนที่ของ

วัตถุเมื่อมีแรงมากระทำ�

๒. ทักษะการจำ�แนกประเภท โดยใช้ทิศทาง

การออกแรงกระทำ�ต่อวัตถุเป็นเกณฑ์ เพื่อ

จำ�แนกเป็นการดึงหรือการผลัก

๓. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล โดยใช้

ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตมาอธิบายเกี่ยวกับ

ผลของการออกแรงที่ทำ�ให้วัตถุเปลี่ยนแปลง

การเคลื่อนที่

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากการบันทึกรายละเอียด

เกี่ยวกับทิศทางการออกแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุ การ

เปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่และทิศทางการเคลื่อนที่

ของวัตถุเมื่อมีแรงมา กระทำ� และบันทึกสิ่งที่สังเกต

ตามความเป็นจริงโดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัว

๒. ประเมินทักษะการจำ�แนกประเภท จากทิศทางการ

ออกแรงกระทำ�ต่อวัตถุเป็นเกณฑ์ เพื่อจำ�แนกว่า

เป็นการดึงหรือการผลักได้ถูกต้อง

๓. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล จาก

การนำ�ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตมาอธิบายเกี่ยวกับ

ผลของการออกแรงที่ทำ�ให้วัตถุเปลี่ยนแปลง

การเคลื่อนที่อย่างมีเหตุผล

118