การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ตัวชี้วัด
๖. ระบุขั้วแม่เหล็กและพยากรณ์ผลที่เกิดขึ้นระหว่างขั้วแม่เหล็กเมื่อนำ�มาเข้าใกล้กันจากหลักฐานเชิงประจักษ์
ด้านความรู้
๑. ขั้วแม่เหล็กมี ๒ ขั้ว คือ ขั้วเหนือและขั้วใต้
ขั้ ว แ ม่ เ หล็ ก ชนิด เ ดี ย ว กันจ ะ ผ ลั ก กัน
ขั้วแม่เหล็กต่างชนิดกันจะดึงดูดกัน
๒. แรงแม่เหล็กเป็นแรงที่เกิดขึ้นระหว่าง
แม่เหล็กกับแม่เหล็ก หรือระหว่างแม่เหล็กกับ
สารแม่เหล็ก
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ทักษะการสังเกต โดยสังเกตการวางตัว
ของแท่งแม่เหล็กเมื่อแขวนนิ่ง และสังเกต
การเคลื่อนที่ของแท่งแม่เหล็กเมื่อนำ�แม่เหล็ก
อีกแท่งเข้าใกล้
๒. ทักษะการพยากรณ์ โดยคาดการณ์และให้
เหตุผลสิ่งที่จะเกิดขึ้นระหว่างขั้วแม่เหล็กเมื่อ
นำ�มาเข้าใกล้กัน
๓. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล โดยการนำ�
ข้อมูลจากการสังเกตมาระบุขั้วแม่เหล็ก และ
อธิบายผลของแรงแม่เหล็กที่มีต่อแม่เหล็ก
ด้านความรู้
๑. ระบุขั้วแม่เหล็ก
๒. อธิบายผลของแรงแม่เหล็ก ที่เกิดขึ้นระหว่างแม่เหล็ก
กับแม่เหล็ก หรือระหว่างแม่เหล็กกับสารแม่เหล็ก
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากการบันทึกผลการ
สังเกตการวางตัวของแท่งแม่เหล็กเมื่อแขวนนิ่ง
และจากการบันทึกผลการสังเกตการเคลื่อนที่ของ
แท่งแม่เหล็กเมื่อนำ�แม่เหล็กอีกแท่งเข้าใกล้ ตาม
ความเป็นจริงโดยไม่เพิ่มเติมความคิดเห็นส่วนตัว
๒. ประเมินทักษะการพยากรณ์ จากการบันทึกการ
คาดการณ์และให้เหตุผลสิ่งที่จะเกิดขึ้นระหว่าง
ขั้วแม่เหล็กเมื่อนำ�มาเข้าใกล้กันได้อย่างสมเหตุ
สมผล
๓. ประเมินทักษะลงความเห็นจากข้อมูล จากการนำ�
ข้อมูลจากการสังเกตมาระบุขั้วแม่เหล็ก และอธิบาย
ผลของแรงแม่เหล็กที่มีต่อแม่เหล็กได้ถูกต้อง
๑. ครูตรวจสอบความรู้เดิมเกี่ยวกับขั้วแม่เหล็ก โดยการซักถาม หรือใช้
สื่อต่าง ๆ เช่น รูป ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์
๒. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ขั้วแม่เหล็กเพื่อนำ�ไปสู่การทำ�กิจกรรมเพื่ออธิบายการระบุขั้วแม่เหล็ก
๓. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม บันทึกผล สรุปผล และนำ�เสนอ
๔. นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์มาสนับสนุนเพื่อ
ลงข้อสรุปได้ว่าแม่เหล็กมี ๒ ขั้ว คือ ขั้วเหนือและขั้วใต้ โดยเมื่อแขวน
แท่งแม่เหล็กให้สามารถแกว่งได้อย่างอิสระในแนวราบ ขั้วแม่เหล็กด้านที่ชี้
ไปทางทิศเหนือเป็นขั้วเหนือ ส่วนขั้วแม่เหล็กด้านที่ชี้ไปทางทิศใต้เป็นขั้วใต้
๕. นักเรียนตั้งคำ�ถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับแรงระหว่างแม่เหล็กกับแม่เหล็กเพื่อนำ�
ไปสู่การพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นระหว่างขั้วแม่เหล็กเมื่อนำ�มาเข้าใกล้กัน
๖. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม บันทึกผล สรุปผล และนำ�เสนอ
๗. นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์มาสนับสนุนเพื่อให้ได้
ข้อสรุปว่าขั้วแม่เหล็กชนิดเดียวกันจะผลักกัน ขั้วแม่เหล็กต่างชนิดกันจะ
ดึงดูดกัน แรงแม่เหล็กเป็นแรงที่เกิดขึ้นระหว่างแม่เหล็กกับแม่เหล็ก หรือ
ระหว่างแม่เหล็กกับสารแม่เหล็ก
๘. นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับแม่เหล็ก โดยวิธีการ ต่าง ๆ เช่น การ
เขียนผังมโนทัศน์ นำ�เสนอ จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบผล
การนำ�เสนอและปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง
124