Table of Contents Table of Contents
Previous Page  136 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 136 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด

๗. ยกตัวอย่างการเปลี่ยนพลังงานหนึ่งไปเป็นอีกพลังงานหนึ่งจากหลักฐานเชิงประจักษ์

ด้านความรู้

๑. พลังงานเป็นปริมาณที่แสดงถึงความสามารถ

ในการทำ�งาน พลังงานสามารถเปลี่ยนจาก

พลังงานหนึ่งไปเป็นอีกพลังงานหนึ่งได้

๒. พลังงานไฟฟ้า พลังงานแสง พลังงานเสียง

พลังงานกล และพลังงานความร้อนเป็น

พลังงานที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำ�วัน

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการสังเกต โดยบรรยายการเปลี่ยน

พลังงานที่เกิดขึ้นของสิ่งต่าง ๆ

๒. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล โดยนำ�

ข้อมูลจากการสังเกตและจากการเชื่อมโยง

ความรู้เกี่ยวกับความหมายพลังงานและ

การเปลี่ยนพลังงานจากพลังงานหนึ่งไปเป็น

อีกพลังงานหนึ่งได้

ด้านความรู้

๑. อธิบายความหมายของพลังงาน

๒. ระบุและยกตัวอย่างการเปลี่ยนพลังงานจากพลังงาน

หนึ่งไปเป็นอีกพลังงานหนึ่ง

๓. ยกตัวอย่างสถานการณ์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า พลังงาน

แสง พลังงานเสียง พลังงานกล ในชีวิตประจำ�วัน

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประ เ มินทักษะกา รสัง เ กต จากกา รบันทึก

รายละเอียดสิ่งที่ปรากฏจริงเกี่ยวกับการเปลี่ยน

พลังงานที่เกิดขึ้นของสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง

โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัว

๒. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล จากการ

เชื่อมโยงเกี่ยวกับความหมายของพลังงาน และการ

เปลี่ยนพลังงานจากพลังงานหนึ่งไปเป็นอีกพลังงาน

หนึ่งได้ถูกต้อง

๑. ครูกระตุ้นความสนใจของนักเรียนโดยใช้สื่อต่าง ๆ หรือกิจกรรมสาธิต

เกี่ยวกับพลังงาน เช่น สาธิตการทำ�ให้รถของเล่นเคลื่อนที่หรือใบพัดของ

พัดลมพกพาหมุนได้โดยใช้ถ่านไฟฉาย จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกัน

อภิปรายเพื่อลงข้อสรุปว่าถ่านไฟฉายทำ�ให้รถของเล่นเคลื่อนที่หรือทำ�ให้

ใบพัดหมุนได้ เรียกว่า รถของเล่นทำ�งานหรือใบพัดทำ�งานได้ซึ่งได้พลังงาน

มาจากถ่านไฟฉาย

๒. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพิ่มเติมว่าพลังงานเป็นปริมาณที่แสดงถึง

ความสามารถในการทำ�งาน

๓. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่าพลังงานที่มีอยู่ในวัตถุที่กำ�ลังเคลื่อนที่เป็นพลังงาน

กล เช่น พลังงานที่อยู่ในรถของเล่นที่กำ�ลังเคลื่อนที่ หรือพลังงานที่อยู่

ในใบพัดที่กำ�ลังหมุน จากนั้นนักเรียนอภิปรายร่วมกันและยกตัวอย่าง

พลังงานกลอื่นๆ ในชีวิตประจำ�วัน

๔. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและยกตัวอย่างเกี่ยวกับพลังงานต่าง ๆ

ที่พบในชีวิตประจำ�วันซึ่งลงข้อสรุปได้ว่า พลังงานที่เกี่ยวข้องกับชีวิต

ประจำ�วัน ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า พลังงานแสง พลังงานเสียง พลังงานกล

และพลังงานความร้อน

๕. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับการเปลี่ยน

พลังงานแบบต่าง ๆ ที่นักเรียนพบเห็นในชีวิตประจำ�วัน โดยอาจใช้วิธี

ซักถาม กิจกรรมสาธิต หรือใช้สื่อต่าง ๆ เช่น รูป ภาพเคลื่อนไหว

วีดิทัศน์ เพื่อนำ�ไปสู่การทำ�กิจกรรมเพื่อสังเกตเกี่ยวกับการเปลี่ยนพลังงาน

แบบต่าง ๆ

126