การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับแรงสัมผัสและแรง
ไม่สัมผัส โดยอาจใช้วิธีซักถาม หรือใช้สื่อต่าง ๆ เช่น รูป ภาพเคลื่อนไหว
วีดิทัศน์ เพื่อนำ�ไปสู่การทำ�กิจกรรมเพื่ออธิบายแรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัส
๒. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมโดยให้วัตถุหนึ่งออกแรงกระทำ�กับอีกวัตถุหนึ่งโดย
วัตถุต้องสัมผัสกัน เช่น กลิ้งลูกบอลลูกหนึ่งไปชนลูกบอลอีกลูกหนึ่ง สังเกต
บันทึกผล สรุปผล และนำ�เสนอ
๓. นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์มาสนับสนุนเพื่อลง
ข้อสรุปว่า แรงที่เกิดจากวัตถุหนึ่งกระทำ�กับอีกวัตถุหนึ่งโดยวัตถุสัมผัสกัน
จัดเป็นแรงสัมผัส ซึ่งอาจมีผลทำ�ให้วัตถุเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ ตัวอย่าง
ของแรงสัมผัส เช่น การตีลูกปิงปอง การลากโต๊ะ
๔. นักเรียนตั้งคำ�ถามใหม่เกี่ยวกับแรงไม่สัมผัสเพื่อนำ�ไปสู่การสังเกตแรง
ไม่สัมผัส และผลของแรงไม่สัมผัสที่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของวัตถุ
๕. นักเรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมโดยให้วัตถุหนึ่งออกแรงกระทำ�กับอีกวัตถุ
หนึ่งโดยวัตถุไม่สัมผัสกัน เช่น นำ�แม่เหล็กเข้าใกล้วัตถุที่ทำ�จากเหล็ก
บันทึกผล สรุปผล และนำ�เสนอ
๖. นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์มาสนับสนุนเพื่อให้ได้
ข้อสรุปว่าแรงที่เกิดจากวัตถุหนึ่งกระทำ�กับอีกวัตถุหนึ่งโดยวัตถุไม่จำ�เป็น
ต้องสัมผัสกัน จัดเป็นแรงไม่สัมผัส ซึ่งอาจมีผลทำ�ให้วัตถุเปลี่ยนแปลง
การเคลื่อนที่ ตัวอย่างของแรงไม่สัมผัส เช่น แรงแม่เหล็ก
ด้านความรู้
๑. แรงที่เกิดจากวัตถุหนึ่งกระทำ�กับอีกวัตถุหนึ่ง
โดยวัตถุทั้งสองต้องสัมผัสกัน จัดเป็นแรง
สัมผัส
๒. แรงที่เกิดจากวัตถุหนึ่งกระทำ�กับอีกวัตถุหนึ่ง
โดยวัตถุทั้งสองไม่จำ�เป็นต้องสัมผัสกัน จัด
เป็นแรงไม่สัมผัส
๓. แรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัส อาจทำ�ให้วัตถุ
เปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ทักษะการสังเกต โดยสังเกตการสัมผัสและ
การไม่สัมผัสของวัตถุ และผลของแรงสัมผัส
และแรงไม่สัมผัสที่มีต่อการเคลื่อนที่ของวัตถุ
๒. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล โดยการนำ�
ข้อมูลจากการสังเกตเกี่ยวกับการสัมผัสและ
การไม่สัมผัสของวัตถุ และผลของแรงที่
กระทำ�กับวัตถุมาอธิบายแรงสัมผัสและแรง
ไม่สัมผัส
ด้านความรู้
๑. เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างแรงสัมผัสและ
แรงไม่สัมผัส
๒. ยกตัวอย่างแรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัสที่มีผลต่อ
การเคลื่อนที่ของวัตถุ
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากบันทึกรายละเอียด
เกี่ยวกับการสัมผัสกันและการไม่สัมผัสกันของวัตถุ
และผลของแรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัสที่มีต่อการ
เคลื่อนที่ของวัตถุ และบันทึกสิ่งที่สังเกตตามความ
เป็นจริงโดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัว
๒. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล จาก
การนำ�ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตมาอธิบายเกี่ยวกับ
การสัมผัสและการไม่สัมผัสของวัตถุ และผลของ
แรงที่กระทำ�กับวัตถุมาอธิบายแรงสัมผัสและแรง
ไม่สัมผัสได้ถูกต้อง
120
ตัวชี้วัด
๔. เปรียบเทียบและยกตัวอย่างแรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัสที่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของวัตถุโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์