Table of Contents Table of Contents
Previous Page  150 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 150 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด

๖. อธิบายการเกิดลมจากหลักฐานเชิงประจักษ์

๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับการเกิดลม โดย

อาจใช้สถานการณ์ หรือคำ�ถาม หรือสื่อต่างๆ เช่น รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว

หรือ วีดิทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับลม เพื่อนำ�ไปสู่การสร้างแบบจำ�ลองการเกิดลม

๒. ครูให้นักเรียนสร้างแบบจำ�ลองการเกิดลม ตามวิธีการและวัสดุที่ครู

กำ�หนดให้ โดยอาจใช้แบบจำ�ลอง ดังรูป ให้นักเรียนสังเกตการเคลื่อนที่ของ

ควันธูป เมื่อจุดเทียนไขและไม่จุดเทียนไขในขวดพลาสติก และ

วัดอุณหภูมิบริเวณที่อยู่ใกล้เคียงกันโดยใช้เทอร์มอมิเตอร์

ด้านความรู้

ลม คืออากาศที่เคลื่อนที่ เกิดจากความแตกต่าง

ของอุณหภูมิอากาศบริเวณต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้กัน

โดยอากาศบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงจะลอยตัวสูงขึ้น

และอากาศจากบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ�กว่าจะ

เคลื่อนที่ไปแทนที่

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการสังเกต โดยการสังเกตการ

เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแบบจำ�ลองการ

เกิดลม

๒. ทักษะการวัด โดยการใช้เทอร์มอมิเตอร์

วัดอุณหภูมิของอากาศ

๓. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล โดยการ

รวบรวมข้อมูลจากการสังเกตแบบจำ�ลอง

แล้วลงความเห็นเพื่ออธิบายเกี่ยวกับการเกิด

ลม

ด้านความรู้

อธิบายการเกิดลม

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากผลการบันทึก

รายละเอียดการสังเกตเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง

ที่เกิดขึ้นแบบจำ�ลองการเกิดลม ได้ถูกต้อง ตาม

ความเป็นจริงโดยไม่เพิ่มเติมความคิดเห็นส่วนตัว

๒. ประเมินทักษะการวัด จากการใช้เทอร์มอมิเตอร์

วัดอุณหภูมิของอากาศ พร้อมระบุหน่วยของการวัด

ได้อย่างถูกต้อง

๓. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล จาก

การรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตแบบจำ�ลอง

การเกิดลม แล้วลงความเห็นเพื่ออธิบายเกี่ยวกับ

การเกิดลม ได้อย่างสมเหตุสมผล

ก่อนจุดเทียนไข

เทอร์มอมิเตอร์

เทอร์มอมิเตอร์

ธูป

ธูป

ขณะจุดเทียนไข

๓. นักเรียนสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแบบจำ�ลอง รวบรวมหลักฐาน

เชิงประจักษ์ และบันทึกผล

๔. นักเรียนนำ�เสนอ และร่วมกันอภิปรายเพื่อลงข้อสรุปว่า ลม คืออากาศที่

เคลื่อนที่ เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิอากาศบริเวณต่าง ๆ ที่อยู่

ใกล้กัน โดยอากาศบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงจะลอยตัวสูงขึ้น และอากาศจาก

บริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ�กว่าจะเคลื่อนที่ไปแทนที่

140