Table of Contents Table of Contents
Previous Page  147 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 147 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ด้านความรู้

๑. อากาศโดยทั่วไป ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ประกอบ

ด้วย แก๊สไนโตรเจนเป็นส่วนมาก รองลงมา

คือ แก๊สออกซิเจน ที่เหลือเป็นส่วนน้อยคือ

แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สอื่น ๆ

นอกจากนี้ยังมีไอน้ำ�และฝุ่นละออง

๒. อากาศจำ�เป็นต่อสิ่งมีชีวิต หากส่วนประกอบ

ของอากาศไม่เหมาะสมเนื่องจากมีแก๊ส

บางชนิดหรือฝุ่นละอองในปริมาณมากกว่า

ระดับปกติ ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ

ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

๓. ในกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ เช่น การเผา

ไหม้เชื้อเพลิงจากยานพาหนะที่มากเกิน

ไปจะทําให้เกิดมลพิษทางอากาศ ซึ่งส่งผล

กระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม จึงควร

ร่วมกันหาแนวทางในการปฏิบัติเพื่อลดการ

ปล่อยมลพิษทางอากาศ

ด้านความรู้

๑. ระบุส่วนประกอบของอากาศ

๒. บรรยายความสำ�คัญของอากาศและผลกระทบของ

มลพิษทางอากาศต่อสิ่งมีชีวิต

๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัย และตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับสมบัติและ

องค์ประกอบของอากาศ โดยอาจใช้สถานการณ์หรือใช้คำ�ถาม หรือ

สื่อต่างๆ เช่น ภาพเคลื่อนไหว รูปภาพ วีดิทัศน์ เพื่อนำ�ไปสู่การสังเกตและ

สืบค้นข้อมูล

๒. นักเรียนสำ�รวจอากาศรอบๆ ตัวแล้วร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับสี กลิ่นและ

ส่วนประกอบของอากาศ

๓. นักเรียนสืบค้นและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสี กลิ่น และส่วนประกอบของ

อากาศ จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าเชื่อถือ เช่น อินเทอร์เน็ต หนังสือ หรือ

ใบความรู้ และบันทึกผล

๔. นักเรียนนำ�ข้อมูลที่ได้มาร่วมกันอภิปรายแล้วเรียงลำ�ดับองค์ประกอบ

ของอากาศมากที่สุดไปน้อยที่สุดเพื่อลงข้อสรุปว่า อากาศประกอบด้วย

แก๊สไนโตรเจนเป็นส่วนมาก รองลงมาคือ แก๊สออกซิเจน ที่เหลือเป็นส่วน

น้อยคือแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีไอน้ำ�และ

ฝุ่นละออง

๕. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัย และตั้งคำ�ถามใหม่เกี่ยวกับมลพิษทาง

อากาศ เพื่อนำ�สู่การสำ�รวจปัญหามลพิษทางอากาศในท้องถิ่น จากการ

สัมภาษณ์คนในชุมชน หรือจากแหล่งข่าวต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วีดิทัศน์

หรือภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ

137

วิทยาศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

ตัวชี้วัด

๔. ระบุส่วนประกอบของอากาศ บรรยายความสำ�คัญของอากาศ และผลกระทบของมลพิษทางอากาศต่อสิ่งมีชีวิต จากข้อมูลที่รวบรวมได้

๕. ตระหนักถึงความสำ�คัญของอากาศ โดยนำ�เสนอแนวทางการปฏิบัติตนในการลดการเกิดมลพิษทางอากาศ