Table of Contents Table of Contents
Previous Page  143 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 143 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด

๒. อธิบายสาเหตุการเกิดปรากฏการณ์การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ การเกิดกลางวันกลางคืน และการกำ�หนดทิศ โดยใช้แบบจำ�ลอง

๓. ตระหนักถึงความสำ�คัญของดวงอาทิตย์ โดยบรรยายประโยชน์ของดวงอาทิตย์ต่อสิ่งมีชีวิต

ด้านความรู้

๑. การหมุนรอบตัวเองของโลกทำ�ให้คนบนโลก

มองเห็นดวงอาทิตย์ปรากฏขึ้นทางด้านหนึ่ง

ของขอบฟ้าและเคลื่อนสูงขึ้นไปบนท้องฟ้า

จนถึงจุดสูงสุด จากนั้นค่อย ๆ เคลื่อนต่ำ�ลง

มาจนลับขอบฟ้าอีกด้านหนึ่งเสมอ การที่

โลกหมุนรอบตัวเองตลอดเวลา ทำ�ให้คนบน

โลกเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นและตกหมุนเวียนเป็น

แบบรูปซ้ำ�ๆ

๒. คนบนโลกกำ�หนดให้ขอบฟ้าด้านที่มองเห็น

ดวงอาทิตย์ปรากฏขึ้นจากขอบฟ้าเป็น

ทิศตะวันออก และกำ�หนดให้ขอบฟ้าด้านที่

มองเห็นดวงอาทิตย์ปรากฏลับจากขอบฟ้า

เป็นทิศตะวันตก

ด้านความรู้

อธิบายสาเหตุการเกิดปรากฏการณ์การขึ้นและตก

ของดวงอาทิตย์ และการกำ�หนดทิศ

แบบรูปการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์และการกำ�หนดทิศ

๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับสาเหตุการเกิด

ปรากฏการณ์การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ และการกำ�หนดทิศ โดยอาจ

ใช้วิธีซักถาม หรือใช้สื่อต่าง ๆ เช่น วีดิทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว สัญลักษณ์ใน

แผนที่ เพื่อนำ�ไปสู่การสืบค้นข้อมูล

๒. นักเรียนรวบรวมหลักฐานเชิงประจักษ์จากการสังเกตและสืบค้นข้อมูล

จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับสาเหตุการเกิด

ปรากฏการณ์การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์และการกำ�หนดทิศ

๓. นักเรียนวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ

เกี่ยวกับการหมุนรอบตัวเองของโลกขณะโคจรรอบดวงอาทิตย์และ

เส้นทางการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์มาสร้างแบบจำ�ลองการขึ้นและตก

ของดวงอาทิตย์และการกำ�หนดทิศ

๔. นักเรียนสังเกตว่า ผู้สังเกตในแบบจำ�ลองมองเห็นการเปลี่ยนแปลง

ตำ�แหน่งของดวงอาทิตย์อย่างไร ขณะที่โลกหมุนรอบตัวเองอย่างน้อย

๓ ครั้ง จากนั้นรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสังเกต

๕. นักเรียนร่วมกันอภิปราย ความสัมพันธ์ระหว่างแบบรูปเส้นทาง

การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์และการกำ�หนดทิศ

133

วิทยาศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓