การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ตัวชี้วัด
๒. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต และความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต เพื่อประโยชน์ต่อการดำ�รงชีวิต
๓. เขียนโซ่อาหารและระบุบทบาทหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคในโซ่อาหาร
๔. ตระหนักในคุณค่าของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการดำ�รงชีวิตของสิ่งมีชีวิต โดยมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
ด้านความรู้
๑. ในแหล่งที่อยู่หนึ่ง ๆ มีสิ่งมีชีวิตหลายชนิด
อาศัยอยู่ด้วยกัน และมีความสัมพันธ์กัน เช่น
นกกินหนอนเป็นอาหาร นกอาศัย หลบภัย
และเลี้ยงดูลูกอ่อนอยู่บนต้นไม้ และ
สิ่งมีชีวิตยังมีความสัมพันธ์กับสิ่งไม่มีชีวิต
เช่น สิ่งมีชีวิตใช้อากาศในการหายใจ สิ่งมีชีวิต
ใช้น้ำ�หรือดินเป็นที่อยู่อาศัย
๒. สิ่งมีชีวิตที่มีความสัมพันธ์ในด้านการกินกัน
เป็นอาหาร มีการกินต่อกันเป็นทอด ๆ ใน
รูปแบบของโซ่อาหาร โดยสิ่งมีชีวิตที่สร้าง
อาหารเองได้จะมีบทบาทเป็นผู้ผลิต และ
สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้จะ
มีบทบาทเป็นผู้บริโภคในโซ่อาหาร
หมายเหตุ :
ไม่จำ�เป็นต้องให้นักเรียนอธิบายความสัมพันธ์
ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตในภาวะต่าง ๆ เช่น
ภาวะได้ประโยชน์ร่วมกัน
ด้านความรู้
๑. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต
และความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต
ในแหล่งที่อยู่เดียวกัน
๒. เขียนโซ่อาหารแสดงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต
กับสิ่งมีชีวิตในด้านการกินต่อเป็นทอดๆ
๓. ระบุผู้ผลิตและผู้บริโภคในโซ่อาหาร
๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับการดำ�รงชีวิต
ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่ต่าง ๆ โดยอาจใช้วิธีซักถาม หรือใช้สื่อต่าง ๆ
เช่น รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์ สถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อนำ�ไปสู่
การวางแผนการสำ�รวจสิ่งมีชีวิตและการดำ�รงชีวิตของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ
ในแหล่งที่อยู่เดียวกัน
๒. นักเรียนสำ�รวจตามแผนที่วางไว้และสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมจากสื่อหรือแหล่ง
เรียนรู้อื่นๆ เช่น วีดิทัศน์ อินเทอร์เน็ต บันทึกผลการสำ�รวจโดยวาดภาพ
เขียนบรรยาย หรือวิธีอื่นๆ และนำ�เสนอ
๓. นักเรียนร่วมกันอภิปรายข้อมูลที่ได้จากการสำ�รวจและการสืบค้นข้อมูล
เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต และความสัมพันธ์
ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตในแหล่งที่อยู่นั้นๆ และร่วมกันลงข้อสรุป
ได้ว่า ในแหล่งที่อยู่หนึ่ง ๆ มีสิ่งมีชีวิตหลายชนิดอาศัยอยู่ด้วยกัน และมี
ความสัมพันธ์กัน เช่น นกกินหนอนเป็นอาหาร นกอาศัยและหลบภัยอยู่
บนต้นไม้ และสิ่งมีชีวิตยังมีความสัมพันธ์กับสิ่งไม่มีชีวิต เช่น สิ่งมีชีวิตใช้
อากาศในการหายใจ สิ่งมีชีวิตใช้น้ำ�หรือดินเป็นที่อยู่อาศัย
๔. ครูยกตัวอย่างสถานการณ์ที่แสดงความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในด้าน
การกินต่อกันเป็นทอด ๆ โดยให้นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์ว่ามีสิ่งมีชีวิต
ใดบ้าง และมีลำ�ดับการกินกันเป็นอย่างไร จากนั้นครูอธิบายวิธีการเขียน
โซ่อาหาร และระบุสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคในโซ่อาหาร
183
วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕