Table of Contents Table of Contents
Previous Page  199 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 199 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ด้านความรู้

สสารในสถานะของแข็ง ของเหลว และแก๊ส

สามารถเปลี่ยนสถานะได้เมื่อทำ�ให้ร้อนขึ้นหรือ

เย็นลง ของแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว

เรียกว่า การหลอมเหลว ของเหลวเปลี่ยน

สถานะเป็นแก๊ส เรียกว่า การกลายเป็นไอ ซึ่งมี

ทั้งการเดือดและการระเหย แก๊สเปลี่ยนสถานะ

เป็นของเหลว เรียกว่า การควบแน่น ของเหลว

เปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง เรียกว่า การแข็ง

ตัว ของแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊ส เรียกว่า

การระเหิด ส่วนแก๊สเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง

เรียกว่า การระเหิดกลับ

ด้านความรู้

๑. อธิบายการเปลี่ยนสถานะต่าง ๆ ของสสาร

๒. ระบุชื่อการเปลี่ยนสถานะต่าง ๆ ของสสาร

๑. ครูทบทวนความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสถานะของสสารและตรวจสอบความรู้

เดิมเกี่ยวกับการเปลี่ยนสถานะของสสาร โดยอาจใช้การซักถาม หรือ

สื่อต่าง ๆ เช่น รูปภาพ วีดิทัศน์

๒. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับการเปลี่ยน

สถานะของสสารโดยอาจใช้คำ�ถาม ใช้การสาธิต หรือสื่อต่างๆ เช่น รูปภาพ

วีดิทัศน์ หรือตัวอย่างสสาร เพื่อนำ�ไปสู่การทำ�กิจกรรมการเปลี่ยนสถานะ

ของสสาร

๓. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมโดยสังเกตลักษณะสสารที่เป็นของแข็ง ของเหลว

และแก๊ส บันทึกผล และสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสสารที่เป็นของแข็ง

ของเหลวและแก๊ส เมื่อทำ�ให้สสารร้อนขึ้นหรือเย็นลง บันทึกผล และ

นำ�เสนอ

189

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕

วิทยาศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕

สาระที่ ๒ วิทยาศาสตร์กายภาพ

มาตรฐาน ว ๒.๑ เข้าใจสมบัติของสสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยว

ระหว่างอนุภาค หลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร การเกิดสารละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี

มาตรฐาน ว ๒.๒ เข้าใจธรรมชาติของแรงในชีวิตประจำ�วัน ผลของแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุ ลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุ

รวมทั้งนำ�ความรู้ไปใช้ประโยชน์

ตัวชี้วัด

๑. อธิบายการเปลี่ยนสถานะของสสารเมื่อทำ�ให้สสารร้อนขึ้นหรือเย็นลง โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์