Table of Contents Table of Contents
Previous Page  204 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 204 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

๓. ครูให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมโดยสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสาร เช่น

การเปลี่ยนแปลงของกระดาษลิตมัสเมื่อทดสอบกับสารละลายต่าง ๆ

เช่น น้ำ�ส้มสายชู น้ำ�ปูนใส โดยสังเกตการเปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัส

การผสมน้ำ�ส้มสายชูกับผงฟู โดยสังเกตการเกิดฟองแก๊ส การผสมน้ำ�ปูนใส

กับสารละลายผงฟู โดยสังเกตการเกิดตะกอน การผสมแอมโมเนียมคลอไรด์

กับปูนขาว โดยสังเกตการเกิดกลิ่นและการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ บันทึก

ผลการสังเกต สรุปผลและนำ�เสนอ

๔. ครูใช้คำ�ถามเพื่อให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

ซึ่งได้แก่ผลการสังเกตของนักเรียนเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า การเปลี่ยนแปลง

ทางเคมีเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีสารใหม่เกิดขึ้นซึ่งสังเกตได้จากการที่

สารมีสีหรือกลิ่นต่างจากสารเดิม หรือมีฟองแก๊ส หรือมีตะกอนเกิดขึ้น หรือ

มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของอุณหภูมิ

๕. นักเรียนสำ�รวจการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในชีวิตประจำ�วัน เช่น การเผาไหม้

การเกิดสนิม การสึกกร่อนของหินปูน การสุกของผลไม้ การบูดเน่าของ

อาหาร การสังเคราะห์ด้วยแสง จากนั้นร่วมกันวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง

ทางเคมีที่สำ�รวจได้ บันทึกผลและนำ�เสนอ

๖. ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบผลการวิเคราะห์และแก้ไขให้ถูกต้อง

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการสังเกต โดยสังเกตลักษณะของ

สารก่อนและหลังนำ�สารมาผสมกัน บันทึก

สิ่งที่สังเกตได้

๒. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล โดยการ

นำ�ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตมาอธิบายการ

เปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร

๓. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

โดยการตีความหมายข้อมูลที่นำ�เสนอ

แล้วอภิปรายร่วมกันเพื่อลงข้อสรุปเรื่อง

การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากผลการทำ�กิจกรรม

การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารเมื่อผสมสาร

๒ ชนิดตามความเป็นจริง โดยไม่เพิ่มความคิดเห็น

ส่วนตัว

๒. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล จาก

การนำ�ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตมาอธิบายการ

เปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารได้ถูกต้อง

๓. ประเมินทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

จากการตีความหมายข้อมูลที่นำ�เสนอแล้วอภิปราย

ร่วมกันเพื่อลงข้อสรุปเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางเคมี

ของสารได้ถูกต้องและครบถ้วน

ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑

๑. ประเมินทักษะด้านความร่วมมือและการทำ�งาน

เป็นทีม จากการทำ�งานกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ ใน

การทำ�กิจกรรมการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร

และการนำ�เสนอ

๒. ประเมินทักษะด้านการสื่อสาร จากการนำ�เสนอ

ข้อมูลที่ได้จากการทำ�กิจกรรมการเปลี่ยนแปลง

ทางเคมีของสาร ให้ผู้อื่นเข้าใจ

๓. ประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จาก

การวิเคราะห์สถานการณ์และระบุการเปลี่ยนแปลง

ทางเคมีได้ถูกต้อง

ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑

๑. ทักษะด้านความร่วมมือและการทำ�งาน

เป็นทีม โดยนักเรียนร่วมกันทำ�กิจกรรมเรื่อง

เปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารและการร่วมกัน

นำ�เสนอผลการทำ�กิจกรรม

๒. ทักษะด้านการสื่อสาร โดยนำ�เสนอผลการทำ�

กิจกรรมและร่วมกันแสดงความคิดเห็นในชั้น

เรียนเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร

๓. ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดย

การวิเคราะห์สถานการณ์และระบุการ -

เปลี่ยนแปลงทางเคมี

194