การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ด้านความรู้
๑. แรงลัพธ์เป็นผลรวมของแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุ โดย
แรงลัพธ์ของแรงสองแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุเดียวกัน
จะเท่ากับขนาดของแรงทั้งสองบวกกันเมื่อแรง
ทั้งสองอยู่ในแนวเดียวกันและมีทิศทางเดียวกัน
แต่จะเท่ากับขนาดของแรงทั้งสองลบกันเมื่อแรง
ทั้งสองอยู่ในแนวเดียวกันแต่มีทิศทางตรงข้าม
กัน สำ�หรับวัตถุที่อยู่นิ่ง แรงลัพธ์ที่กระทำ�ต่อวัตถุ
มีค่าเป็นศูนย์
๒. การเขียนแผนภาพของแรงและแรงลัพธ์ที่กระทำ�
ต่อวัตถุทำ�ได้โดยใช้ลูกศรแสดงแรงที่กระทำ�กับวัตถุ
โดยหัวลูกศรแสดงทิศทางของแรง และความยาว
ของลูกศรแสดงขนาดของแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุ
๓. การวัดแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุ วัดได้โดยใช้เครื่อง
ชั่งสปริง
หมายเหต ุ:
นักเรียนเรียนรู้และฝึกเขียนแผนภาพของแรงต่าง ๆ ที่
กระทำ�กับวัตถุในทิศทางเดียวกันหรือทิศทางตรงกัน
ข้ามเท่านั้น (๑ มิติ) โดยไม่รวมถึงแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุ
ในทิศทางอื่น (๒ มิติ)
๑. ครูทบทวนความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับผลของแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุ โดย
ใช้การซักถาม หรือใช้สื่อต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าแรงทำ�ให้วัตถุ
เปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้
๒. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับการหา
แรงลัพธ์ของแรงสองแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุเมื่อแรงทั้งสองแรง
อยู่ในทิศทางเดียวกัน โดยอาจใช้คำ�ถาม หรือสื่อต่าง ๆ เช่น รูป
ภาพเคลื่อนไหว เพื่อนำ�ไปสู่การทำ�กิจกรรมเพื่ออธิบายการหา
แรงลัพธ์ของแรงในทิศทางเดียวกัน
๓. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมบันทึกผลและสรุปผลการทำ�กิจกรรม
๔. นักเรียนนำ�เสนอผลการทำ�กิจกรรม ร่วมกันอภิปรายโดยใช้หลักฐาน
เชิงประจักษ์เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า เมื่อมีแรงสองแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุ
ในทิศทางเดียวกัน ผลรวมขนาดของแรงสองแรงนั้นบวกกันจะมีค่า
เท่ากับขนาดของแรงหนึ่งแรง ที่กระทำ�ต่อวัตถุในทิศทางเดียวกับทิศ
ของสองแรงนั้น
๕. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่าผลรวมขนาดของแรงสองแรงนั้นเรียกว่า
แรงลัพธ์และให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเขียนแผนภาพแสดงแรง
โดยใช้ลูกศร ซึ่งหัวลูกศรแสดงทิศทางของแรง และความยาวของ
ลูกศรแสดงขนาดของแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุ
ด้านความรู้
๑. อธิบายวิธีการหาแรงลัพธ์เมื่อแรงสองแรงกระทำ�ต่อ
วัตถุในแนวเดียวกัน
๒. อธิบายแรงลัพธ์ที่กระทำ�ต่อวัตถุในขณะที่วัตถุอยู่นิ่ง
๓. อธิบายแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุที่อยู่ในแนวเดียวกันและ
แรงลัพธ์ที่กระทำ�ต่อวัตถุโดยการเขียนแผนภาพ
๔. อธิบายวิธีการใช้เครื่องชั่งสปริงในการวัดแรง
197
วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
ตัวชี้วัด
๕. อธิบายวิธีการหาแรงลัพธ์ของแรงหลายแรงในแนวเดียวกันที่กระทำ�ต่อวัตถุในกรณีที่วัตถุอยู่นิ่งจากหลักฐานเชิงประจักษ์
๖. เขียนแผนภาพแสดงแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุที่อยู่ในแนวเดียวกันและแรงลัพธ์ที่กระทำ�ต่อวัตถุ
๗. ใช้เครื่องชั่งสปริงในการวัดแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุ