Table of Contents Table of Contents
Previous Page  208 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 208 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

๖. นักเรียนตั้งคำ�ถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการหาแรงลัพธ์ของแรงสองแรงที่

กระทำ�ต่อวัตถุโดยแรงทั้งสองนั้นอยู่ในทิศทางตรงกันข้ามเพื่อนำ�ไปสู่

การสืบค้นข้อมูล บันทึกผล

๗. นักเรียนนำ�เสนอผลการสืบค้นข้อมูล และร่วมกันอภิปรายเพื่อลงข้อสรุป

ว่าแรงลัพธ์ของแรงสองแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุเดียวกันในทิศทางตรงกันข้าม

มีค่าเท่ากับผลต่างของขนาดของแรงทั้งสองโดยมีทิศทางเดียวกับแรงที่มี

ขนาดมากกว่า

๘. ครูสาธิตและร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการเขียนแผนภาพของแรงที่กระทำ�

ต่อวัตถุที่อยู่ในแนวเดียวกัน โดยยกตัวอย่างแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุ ๒ - ๓

สถานการณ์ และให้นักเรียนฝึกเขียนแผนภาพแสดงแรงและการคำ�นวณ

แรงลัพธ์

๙. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามใหม่เกี่ยวกับแรงลัพธ์ของ

แรงในแนวเดียวกันที่กระทำ�ต่อวัตถุในกรณีที่วัตถุอยู่นิ่ง เพื่อนำ�ไปสู่การ

ทำ�กิจกรรมเพื่ออธิบายแรงลัพธ์ที่กระทำ�ต่อวัตถุที่อยู่นิ่ง

๑๐. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม สังเกต และบันทึกผล

๑๑. นักเรียนนำ�เสนอผลการทำ�กิจกรรม ร่วมกันอภิปรายโดยใช้หลักฐาน

เชิงประจักษ์เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าแรงลัพธ์ที่กระทำ�ต่อวัตถุที่อยู่นิ่งมีค่า

เป็นศูนย์

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการวัด โดยการวัดขนาดของแรงที่

กระทำ�ต่อวัตถุด้วยเครื่องชั่งสปริง พร้อมระบุ

หน่วยของแรง

๒. ทักษะการใช้จำ�นวน โดยการนำ�ขนาดของ

แรงต่าง ๆ ที่กระทำ�ต่อวัตถุที่อยู่ในแนว

เดียวกันมาคำ�นวณเพื่อระบุแรงลัพธ์ และ

ระบุหน่วยของแรง

๓. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล โดย

อภิปรายและเชื่อมโยงความรู้ในเรื่องแรง

เพื่ออธิบายการหาแรงลัพธ์ของแรงในแนว

เดียวกันที่กระทำ�ต่อวัตถุและอธิบายแรงลัพธ์

ในกรณีที่วัตถุอยู่นิ่ง

๔. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

โดยทำ�ความเข้าใจข้อมูลที่บันทึกได้จาก

การวัดและการสืบค้นเพื่อลงข้อสรุปเกี่ยวกับ

การหาแรงลัพธ์ของแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุโดย

แรงอยู่ในแนวเดียวกันทั้งทิศเดียวกันและทิศ

ตรงข้าม และแรงลัพธ์ในกรณีที่วัตถุอยู่นิ่ง

๕. ทักษะการสร้างแบบจำ�ลอง โดยเขียน

แผนภาพอธิบายแรงต่าง ๆ ที่กระทำ�ต่อวัตถุ

แรงลัพธ์เมื่อแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุอยู่ในแนว

เดียวกันและแรงลัพธ์ในกรณีที่วัตถุอยู่นิ่ง

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการวัด จากการวัดขนาดของแรงที่

กระทำ�ต่อวัตถุด้วยเครื่องชั่งสปริง พร้อมระบุหน่วย

ของแรงได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม

๒. ประเมินทักษะการใช้จำ�นวน จากการนำ�ขนาดของ

แรงต่าง ๆ ที่กระทำ�ต่อวัตถุที่อยู่ในแนวเดียวกันมา

คำ�นวณเพื่อระบุแรงลัพธ์ และระบุหน่วยของแรงได้

อย่างถูกต้อง เหมาะสม

๓. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล จาก

การเชื่อมโยงความรู้ในเรื่องแรงเพื่ออธิบายการหา

แรงลัพธ์ของแรงในแนวเดียวกันที่กระทำ�ต่อวัตถุ

และอธิบายแรงลัพธ์ในกรณีที่วัตถุอยู่นิ่งได้อย่าง

ถูกต้อง มีเหตุผล

๔. ประเมินทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

จากการทำ�ความเข้าใจข้อมูลที่บันทึกได้จากวัดและ

การสืบค้นข้อมูลเพื่อลงข้อสรุปเกี่ยวกับการหาแรง

ลัพธ์ของแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุโดยแรงอยู่ในแนว

เดียวกันทั้งทิศเดียวกันและทิศตรงข้าม และแรงลัพธ์

ในกรณีที่วัตถุอยู่นิ่งได้ถูกต้อง และครบถ้วน

๕. ประเมินทักษะการสร้างแบบจำ�ลอง จากการเขียน

แผนภาพที่อธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับแรงต่าง ๆ

ที่กระทำ�ต่อวัตถุ แรงลัพธ์เมื่อแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุ

อยู่ในแนวเดียวกันและแรงลัพธ์ในกรณีที่วัตถุอยู่นิ่ง

ได้ถูกต้อง

198