Table of Contents Table of Contents
Previous Page  212 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 212 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ด้านความรู้

๑. เสียงจากแหล่งกำ�เนิดเสียงเคลื่อนที่ไปยังหูผู้ฟัง

โดยอาศัยการสั่นของตัวกลางของเสียงทำ�ให้ได้ยิน

เสียง

๒. เสียงสามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางของเสียง

ที่เป็นของแข็ง ของเหลว และแก๊ส

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการสังเกต โดยการบรรยายการได้ยินเสียง

ผ่านตัวกลางของเสียง

๒. ทักษะก า ร ล ง คว า ม เ ห็นจ า กข้อมูล โ ดย

การเชื่อมโยงความรู้ในเรื่องเสียงและการเกิดเสียง

เพื่อลงความเห็นเกี่ยวกับตัวกลางของเสียง

และการได้ยินเสียง

๓. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

โดยทำ�ความเข้าใจข้อมูลที่บันทึกได้จากการ

สังเกตและจากการสืบค้นเพื่อลงข้อสรุปเกี่ยวกับ

ตัวกลางของเสียงและการได้ยินเสียง

๔. ทักษะการสร้างแบบจำ�ลอง โดยใช้แบบจำ�ลองที่

สร้างเพื่ออธิบายส่วนประกอบของหูด้วยวิธีการ

ต่าง ๆ เช่น การวาดภาพ การปั้นชิ้นงาน ๓ มิติ

ซอฟต์แวร์ประยุกต์สำ�เร็จรูป

๑. ครูทบทวนความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเกิดเสียง โดยอาจใช้การซัก

ถาม หรือใช้สื่อต่าง ๆ เพื่อนำ�ไปสู่ข้อสรุปว่าเสียงเกิดจากการสั่นของ

แหล่งกำ�เนิดเสียง

๒. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับการได้ยินเสียง

โดยอาจใช้การซักถาม หรือใช้สื่อต่าง ๆ เช่น วีดิทัศน์การสื่อสารกันของ

โลมาใต้น้ำ� เพื่อนำ�ไปสู่การทำ�กิจกรรมเพื่อสังเกตการเคลื่อนที่ของเสียง

จากแหล่งกำ�เนิดเสียงมาถึงหูผู้ฟัง

๓. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม สังเกต บันทึกผล และสรุปผลการทำ�กิจกรรม

๔. นักเรียนนำ�เสนอผลการทำ�กิจกรรม ร่วมกันอภิปรายโดยใช้หลักฐาน

เชิงประจักษ์มาสนับสนุนเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าเสียงจากแหล่งกำ�เนิดเสียง

มาถึงหูผู้ฟังได้โดยอาศัยการสั่นอย่างต่อเนื่องของวัตถุที่เป็นของเหลวและ

ของแข็ง

๕. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการได้ยินเสียงใน

ชีวิตประจำ�วันว่าเสียงจากแหล่งกำ�เนิดเสียงนั้นๆ มาถึงหูได้อย่างไร เช่น

การได้ยินเสียงพูดคุย การได้ยินเสียงเพลง เพื่อลงข้อสรุปว่าเสียงเคลื่อนที่

จากแหล่งกำ�เนิดเสียงมาถึงหูผู้ฟังได้จากการสั่นของอากาศ จากนั้นครูอาจ

ใช้อุปกรณ์สาธิต หรือสื่อวีดิทัศน์เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของเสียงผ่านอากาศ

ร่วมกันอภิปรายเพื่อลงข้อสรุปว่าถ้าไม่มีอากาศ จะไม่ได้ยินเสียง

๖. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่าวัตถุที่เสียงเคลื่อนที่ผ่านได้ เรียกว่า ตัวกลาง

ของเสียง

ด้านความรู้

๑. อธิบายการได้ยินเสียงจากแหล่งกำ�เนิดเสียงจนถึง

หูผู้ฟัง

๒. ระบุตัวกลางของเสียงจากสถานการณ์ต่าง ๆ

ในชีวิตประจำ�วัน

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากการบันทึกข้อมูล

การได้ยินเสียงผ่านตัวกลางของเสียง ตามความ

เป็นจริงโดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัว

๒. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล

จากการเชื่อมโยงความรู้ในเรื่องเสียงและ

การเกิดเสียงเพื่อลงความเห็นเกี่ยวกับตัวกลาง

ของเสียงและการได้ยินเสียงได้อย่างมีเหตุผล

๓. ประเมินทักษะการตีความหมายข้อมูลและ

ลงข้อสรุป จากการทำ�ความเข้าใจข้อมูลที่

บันทึกได้จากการสังเกตและจากการสืบค้นเพื่อ

ลงข้อสรุปเกี่ยวกับตัวกลางของเสียงและการ

ได้ยินเสียงได้ถูกต้องและครบถ้วน

202

ตัวชี้วัด

๑๐. อธิบายการได้ยินเสียงผ่านตัวกลางจากหลักฐานเชิงประจักษ์