การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
๗. ครูกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำ�ถามใหม่เกี่ยวกับการได้ยินเสียงเพื่อนำ�
ไปสู่การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับส่วนประกอบของหูและหน้าที่ของแต่ละ
ส่วนประกอบจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ
ทางวิชาการ หนังสือในห้องสมุด นักเรียนสืบค้นและบันทึกผล
๘. นักเรียนนำ�เสนอผลการสืบค้นข้อมูลโดยการใช้แบบจำ�ลองที่สร้างขึ้น
จากนั้นร่วมกันอภิปรายและลงข้อสรุปว่า หูประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ
ซึ่งทำ�หน้าที่แตกต่างกัน เมื่อเสียงเคลื่อนที่มาถึงหู แต่ละส่วนประกอบ
ของหูจะเกิดการสั่นและส่งผ่านสัญญาณเสียงเข้าไปจนถึงหูชั้นใน
และส่งต่อไปยังระบบประสาทเพื่อแปลความหมาย
๙. นักเรียนวิเคราะห์สถานการณ์การได้ยินเสียงในชีวิตประจำ�วันที่
เกี่ยวข้องกับตัวกลางของเสียง นำ�เสนอผลการวิเคราะห์ ครูและ
นักเรียนร่วมกันตรวจสอบผลการวิเคราะห์และปรับปรุงแก้ไขให้
ถูกต้อง
ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑
๑. ทักษะด้านความร่วมมือและการทำ�งาน
เป็นทีม โดยมีส่วนร่วมในการทำ�กิจกรรม
และอภิปรายเกี่ยวกับตัวกลางของเสียงและ
การได้ยินเสียง ส่วนประกอบและหน้าที่ของ
ส่วนประกอบของหู
๒. ทักษะด้านการสื่อสาร โดยการนำ�เสนอ
ข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จาก
การทำ�กิจกรรมและการสืบค้นข้อมูลเพื่อ
อธิบายตัวกลางของเสียงและการได้ยิน
เสียง ส่วนประกอบและหน้าที่ของแต่ละ
ส่วนประกอบของหู เช่น การใช้โปรแกรม
ซอฟต์แวร์สำ�เร็จรูป
๓. ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดย
การวิเคราะห์และเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับ
ตัวกลางของเสียงและการได้ยินเสียง
๔. ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสาร โดยใช้เทคโนโลยีหรือซอฟต์แวร์
ประยุกต์เพื่อสืบค้นข้อมูล จัดกระทำ�ข้อมูล
และนำ�เสนอข้อมูลเกี่ยวกับส่วนประกอบ
และหน้าที่ของแต่ละส่วนประกอบของหู
๔. ประเมินทักษะการสร้างแบบจำ�ลอง จากแบบจำ�ลองที่
สร้างขึ้นเพื่ออธิบายส่วนประกอบของหูด้วยวิธีการต่าง ๆ
เช่น การวาดภาพ การปั้นชิ้นงาน ๓ มิติ ซอฟต์แวร์
ประยุกต์สำ�เร็จรูป ได้อย่างเหมาะสม
ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑
๑. ประเมินทักษะด้านความร่วมมือและการทำ�งานเป็นทีม
จากการมีส่วนร่วมในการทำ�กิจกรรมและอภิปรายเกี่ยวกับ
ตัวกลางของเสียงและการได้ยินเสียง ส่วนประกอบและ
หน้าที่ของส่วนประกอบของหู ร่วมกับผู้อื่นตั้งแต่เริ่มต้น
จนสำ�เร็จลุล่วง
๒. ประเมินทักษะด้านการสื่อสาร จากการนำ�เสนอข้อมูลและ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทำ�กิจกรรมและการ
สืบค้นข้อมูลเพื่ออธิบายตัวกลางของเสียงและการได้ยิน
เสียง ส่วนประกอบและหน้าที่ของแต่ละส่วนประกอบของ
หู เช่น การใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์สำ�เร็จรูปในรูปแบบที่
ผู้อื่นเข้าใจง่าย และถูกต้อง
๓. ประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จากการ
วิเคราะห์และเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับตัวกลางของเสียง
และการได้ยินเสียงได้อย่างสมเหตุสมผล
๔. ประเมินทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
จากการใช้เทคโนโลยีช่วยในการสืบค้นข้อมูลอย่างถูกต้อง
มีจริยธรรมโดยไม่คัดลอกงานของผู้อื่น มีการอ้างอิงแหล่ง
ข้อมูลที่สืบค้น และใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ในการจัดกระทำ�
และนำ�เสนอข้อมูลเกี่ยวกับส่วนประกอบและหน้าที่ของ
แต่ละส่วนประกอบของหูได้อย่างครบถ้วน และเหมาะสม
203
วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕