Table of Contents Table of Contents
Previous Page  217 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 217 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับการได้ยินเสียงดัง

เสียงค่อย โดยอาจใช้การซักถาม หรือสื่อต่างๆ เช่น คลิปเสียง วีดิทัศน์ เพื่อ

นำ�ไปสู่การทำ�การทดลองการเกิดเสียงดัง เสียงค่อย

๒. นักเรียนออกแบบการทดลองเพื่อหาคำ�ตอบเกี่ยวกับการได้ยินเสียงดัง

เสียงค่อย ที่เกิดจากพลังงานของแหล่งกำ�เนิดเสียงแตกต่างกัน และ

ระยะห่างจากแหล่งกำ�เนิดเสียงที่แตกต่างกัน โดยใช้อุปกรณ์ที่กำ�หนด เช่น

กลอง ระฆัง วิทยุ

๓. นักเรียนร่วมกันระบุตัวแปร สมมติฐานในการทดลองเกี่ยวกับการ

เกิดเสียงดัง เสียงค่อย และออกแบบตารางบันทึกผลการทดลอง

๔. นักเรียนปฏิบัติการทดลองโดยสังเกตความดังของเสียงที่ได้ยินซึ่งเป็นผล

มาจากพลังงานในการสั่นของแหล่งกำ�เนิดเสียงและระยะห่างของผู้สังเกต

จากแหล่งกำ�เนิดเสียง บันทึกผลและสรุปผลการทำ�กิจกรรม

๕. นักเรียนนำ�เสนอผลการทำ�กิจกรรมและร่วมกันอภิปรายโดยใช้หลักฐาน

เชิงประจักษ์เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า เมื่อแหล่งกำ�เนิดเสียงสั่นด้วยพลังงานมาก

จะเกิดเสียงดัง เมื่อแหล่งกำ�เนิดเสียงสั่นด้วยพลังงานน้อย จะเกิดเสียงค่อย

และการได้ยินเสียงดัง เสียงค่อย นอกจากจะขึ้นอยู่กับพลังงานในการสั่น

ของแหล่งกำ�เนิดเสียงแล้ว ยังขึ้นอยู่กับระยะทางระหว่างแหล่งกำ�เนิดเสียง

กับผู้สังเกต ถ้าระยะห่างระหว่างแหล่งกำ�เนิดเสียงกับผู้สังเกตมาก จะ

ได้ยินเสียงค่อย แต่ถ้าระยะห่างระหว่างแหล่งกำ�เนิดเสียงกับผู้สังเกตน้อย

จะได้ยินเสียงดัง

ด้านความรู้

๑. อธิบายลักษณะและการเกิดเสียงดัง เสียงค่อย

๒. อธิบายวิธีการวัดระดับเสียงโดยใช้เครื่องมือวัด

ระดับเสียง

๓. อธิบายมลพิษทางเสียงและยกตัวอย่างอันตรายที่

เกิดจากมลพิษทางเสียง

ด้านความรู้

๑. เสียงดัง เสียงค่อย หรือระดับเสียงที่ได้ยิน

ขึ้นอยู่กับพลังงานในการสั่นของแหล่ง

กำ�เนิดเสียง และระยะห่างจากแหล่ง

กำ�เนิดเสียง ถ้าแหล่งกำ�เนิดเสียงสั่นด้วย

พลังงานมากหรือผู้สังเกตอยู่ใกล้แหล่ง

กำ�เนิดเสียง จะได้ยินเสียงดัง แต่ถ้าแหล่ง

กำ�เนิดเสียงสั่นด้วยพลังงานน้อยหรือ

ผู้สังเกตอยู่ไกลจากแหล่งกำ�เนิดเสียง

จะได้ยินเสียงค่อย

๒. เสียงดัง เสียงค่อย วัดได้ด้วยระดับเสียง

มีหน่วยเป็นเดซิเบล การวัดระดับเสียงทำ�ได้

โดยใช้เครื่องวัดระดับเสียง

๓. เสียงดังมาก ๆ ที่เป็นอันตรายต่อการได้ยิน

และเสียงที่ก่อให้เกิดความรำ�คาญเป็นมลพิษ

ทางเสียง

207

วิทยาศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕

ตัวชี้วัด

๑๒. ออกแบบการทดลองและอธิบายลักษณะและการเกิดเสียงดัง เสียงค่อย

๑๓. วัดระดับเสียงโดยใช้เครื่องมือวัดระดับเสียง

๑๔. ตระหนักในคุณค่าของความรู้เรื่องระดับเสียงโดยเสนอแนะแนวทางในการหลีกเลี่ยงและลดมลพิษทางเสียง