Table of Contents Table of Contents
Previous Page  223 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 223 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ด้านความรู้

๑. กลุ่มดาวฤกษ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏบนท้องฟ้าแต่ละ

กลุ่มมีการเรียงตัวของดาวฤกษ์ในตำ�แหน่ง

คงที่จึงมีรูปร่างเหมือนเดิม และมีเส้นทาง

การขึ้นและตกตามเส้นทางเดิมทุกคืน

๒. แผนที่ดาวเป็นแผนที่ท้องฟ้าที่ใช้ระบุตำ�แหน่ง

และเส้นทางการขึ้นและตกของกลุ่มดาวฤกษ์

บนท้องฟ้าเฉพาะพื้นที่หนึ่ง ๆ

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการสังเกต โดยสังเกตลักษณะและระบุ

ตำ�แหน่งของกลุ่มดาวแต่ละกลุ่มบนท้องฟ้า

๒. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับ

สเปซและสเปซกับเวลา โดยนำ�ข้อมูลที่ได้

จากแผนที่ดาว อธิบายตำ�แหน่งและการ

เปลี่ยนแปลงตำ�แหน่งของกลุ่มดาวเมื่อเวลา

เปลี่ยนไป

๓. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

โดยการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

จากการรวบรวมข้อมูลและลงข้อสรุปเกี่ยวกับ

เส้นทางการขึ้นและตกของกลุ่มดาว

ด้านความรู้

๑. อธิบายการมองเห็นกลุ่มดาวแต่ละกลุ่มมีรูปร่างคงที่

๒. อธิบา ยแบบรูป เ ส้นทา ง ก า ร ขึ้นและตกขอ ง

กลุ่มดาวฤกษ์ต่าง ๆ

๓. อธิบายการใช้แผนที่ดาว เพื่อระบุตำ�แหน่งและ

เส้นทางการขึ้นและตกของกลุ่มดาวฤกษ์บนท้องฟ้า

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากผลการสังเกตลักษณะ

และระบุตำ�แหน่งของกลุ่มดาวแต่ละกลุ่มบนท้องฟ้า

ได้อย่างครบถ้วน ตามความเป็นจริง โดยไม่เพิ่มความ

คิดเห็นส่วนตัว

๒. ประเมินทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซ

กับสเปซและสเปซกับเวลา จากการใช้แผนที่ดาว

เพื่อสังเกตท้องฟ้าและอธิบายตำ�แหน่งและการ

เปลี่ยนแปลงตำ�แหน่งของกลุ่มดาวเมื่อเวลาเปลี่ยนไป

ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ�

๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับดาวฤกษ์

กลุ่มดาวฤกษ์และเส้นทางการขึ้นและตกของกลุ่มดาวฤกษ์ โดยอาจ

ใช้สถานการณ์ หรือคำ�ถาม หรือสื่อต่างๆ เช่น วีดิทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว

๒. นักเรียนอภิปรายและลงข้อสรุปเกี่ยวกับกลุ่มดาวว่า กลุ่มดาว คือ

ดาวฤกษ์ที่สว่างหลายดวงที่มีตำ�แหน่งปรากฏบนท้องฟ้าใกล้กันและมี

การเรียงตัวของดาวฤกษ์ในตำ�แหน่งคงที่ เมื่อลากเส้นสมมติระหว่าง

ดาวแต่ละดวง อาจเห็นเป็นรูปร่างต่างๆ ตามจินตนาการของแต่ละคน

๓. นักเรียนสังเกตและอภิปรายเกี่ยวกับองค์ประกอบและวิธีการใช้

แผนที่ดาว และฝึกหัดการวัดมุมเงยและหามุมทิศ เพื่อระบุตำ�แหน่งของ

ดาวบนท้องฟ้า จากนั้นเลือกกลุ่มดาวที่ต้องการสังเกต และวางแผน

การดูดาว โดยมีเกณฑ์ในการเลือกคือกลุ่มดาวนั้นต้องปรากฏขึ้นและตก

ให้เห็นในเวลากลางคืน ในช่วงเวลาที่ต้องการสังเกต

๔. นักเรียนสังเกตกลุ่มดาวฤกษ์บนท้องฟ้าตามแผนที่วางไว้ บันทึกลักษณะ

ของกลุ่มดาว ตำ�แหน่งของกลุ่มดาวที่เวลาต่าง ๆ พร้อมทั้งระบุมุมเงย

และมุมทิศของกลุ่มดาวนั้น

๕. นักเรียนนำ�ข้อมูลจากการสังเกตมาอภิปรายเกี่ยวกับลักษณะการขึ้น

และตกของกลุ่มดาว การเปลี่ยนตำ�แหน่งของกลุ่มดาวเมื่อสังเกต ณ

เวลาต่าง ๆ

๖. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามว่ากลุ่มดาวที่เลือกจะ

มีเส้นทางการขึ้นและตกเป็นอย่างไรในปีต่อไป

213

วิทยาศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕

ตัวชี้วัด

๒. ใช้แผนที่ดาวระบุตำ�แหน่งและเส้นทางการขึ้นและตกของกลุ่มดาวฤกษ์บนท้องฟ้า และอธิบายแบบรูปเส้นทางการขึ้นและตกของกลุ่มดาวฤกษ์บนท้องฟ้าในรอบปี